การฝังเข็ม

  • การฝังเข็มคืออะไร
  • การฝังเข็มเป็นเวชกรรมที่มีประวัติการค้นคว้า และแพร่หลายมาหลายพันปี การฝังเข็มคือวิธีการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการฝังเข็มปักเข้าไปยังตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายในตำแหน่งที่เป็นจุดเฉพาะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการรักษา 2 ส่วนได้แก่
  • 1. เพื่อปรับสมดุลของร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวขึ้น ช่วยให้อวัยวะและระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายกลับทำงานได้ตามปกติ ด้วยพลังธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิต จึงนับว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดี
  • 2. การฝังเข็มสามารถช่วย “ระงับความเจ็บปวด” จึงมักนำไปใช้ในการรักษาโรคปวดต่างๆ หรือใช้ในการผ่าตัด ปัจจุบันมีการนำการฝังเข็มไปใช้ในการป้องกันโรค นอกจากนี้ยังมีวิทยาการอื่นๆ อีกที่เกี่ยวกับศาสตร์การฝังเข็ม และมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางได้แก่ การนวดกดจุด การรมยา การใช้เครื่องกระตุ้น เป็นต้น การฝังเข็มเกิดผลในการรักษาอย่างไร
  • 1.เกิดการหลั่งสารต่างๆ ในร่างกายในระบบ Neuro – endocrine และ Cytokine หลายชนิด ฮอร์โมนบางอย่าง เช่น Steroid,Endorphin,Serotonin และ Neurotransmitter ต่างๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดทั้งในระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย และกลไกของร่างกายทั้งหมด ทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงการทำงานของระบบประสาท และสมอง ทำให้จิตอารมณ์แจ่มใส สารเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นปกติในร่างกายตามธรรมชาติ จึงแตกต่างจากการใช้ยาที่เรารับประทานหรือฉีดเข้าร่างกาย เพราะไม่มีพิษไม่มีผลแทรกซ้อน ที่สำคัญร่างกายมีกลไกในการควบคุมอีกชั้นหนึ่ง (Negative feedback) จึงไม่มีโอกาสหลั่งสารออกมาจนเกินขนาด
  • 2. เกิดการกระตุ้นให้มีการปรับตัวของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งควบคุมเส้นเลือดและการทำงานของอวัยวะภายในทั่วร่างกาย จึงเป็นผลช่วยรักษาภาวะที่อวัยวะต่างๆ และแขน ขา ขาดเลือดหล่อเลี้ยง การปรับการทำงาน ของอวัยวะเป็นแบบควบคุม 2 ทาง (Bi-direction regulation) กล่าวคือ หากอวัยวะใดทำงานมากเกินไปก็จะทำให้ลดลง อวัยวะใดทำงานน้อยไปก็จะปรับให้มากขึ้น เช่น การปวดประจำเดือน (Primary dysmenorrhea) ซึ่งเกิดการบีบรัดตัวที่รุนแรงของมดลูก การฝังเข็มจะทำให้มดลูกบีบตัวลดลง จึงช่วยลดอาการปวดได้ดี และในเดือนต่อไปก็จะปวดลดลงจนเป็นปกติ อาการท้องอืด โดยเฉพาะหลังการผ่าตัดช่องท้อง เกิดจากการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ยังไม่ฟื้นตัว การฝังเข็มจะช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารและลำไส้เริ่มทำงานใหม่ ทำให้อาการท้องอืดหายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาในคนไข้แต่ละคนจะได้ผลดีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการฝังเข็มที่แตกต่างกัน ขึ้นกับระยะเวลาที่เป็นโรคนั้น หากเป็นเรื้อรังมานาน ผลก็จะไม่ดีเท่าผู้ที่เป็นมาไม่นาน ขึ้นอยู่กับชนิดโรคที่เป็นและสภาพร่างกายของผู้ป่วย ผู้ที่อ่อนแอมาก อาจไม่ได้ประโยชน์มากจากการรักษา จึงควรปรึกษาแพทย์ หลังจากได้ศึกษาข้อมูลความรู้เรื่องการฝังเข็มอย่างดีแล้วก่อนตัดสินใจรักษาด้วยการฝังเข็ม
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาด้วยการฝังเข็ม เข็มที่ใช้รักษาผู้ป่วยในอดีตมีเข็ม 9 ชนิดทำด้วยวัสดุหลายๆอย่าง ปัจจุบันนิยมใช้เข็มที่ทำด้วยสแตนเลสมีลักษณะปลายแหลมมีส่วนของตัวเข็มยาวพอประมาณและมีด้ามจับเป็นลวดพันไปจนสุดเข็ม เข็มที่ใช้รักษาผู้ป่วยนี้ จะมีความยาวและความหนาต่างๆกัน นอกจากนี้ยังมีเข็มขนาดเล็ก ความยาวของตัวเข็มประมาณ 3-6 มิลลิเมตร เข็มชนิดนี้ใช้ฝังติดตัวไว้ตลอดเวลา นอกจากการฝังเข็มด้วยเข็มดังกล่าวแล้ว ยังมีการรักษาร่วมกับการฝังเข็มโดยอุปกรณ์อื่นๆ ร่วม เช่น การรมยา (Moxibustion หรือการเผาสมุนไพร) วิธีนี้ใช้สมุนไพรโกศจุฬารัมภา ม้วนเป็นท่อนกลมเผาไฟแล้วรมบริเวณจุดฝังเข็ม หรือปั้นเป็นก้อนเล็กๆ วางไว้ตามจุดฝังเข็มต่างโดยใช้ขิงวางที่ผิวหนังเป็นฐานแล้วจุดไฟที่ปลายก้อนโกฐจนไฟลามถึงผิวหนังพอให้รู้สึกร้อนพอทนได้ การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า(Electro-acupuncture) กระทำเช่นเดียวกับการฝังเข็มแต่การกระตุ้นจะใช้ไฟฟ้ากระตุ้น ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน การครอบกระปุก(Cupping) การครอบกระปุกเป็นวิธีการรักษาโดยใช้กระปุกมาลนไฟให้ร้อน เพื่อไล่อากาศออก จากนั้นจึงครอบกระปุกลงบนผิวหนัง ซึ่งจะมีแรงดูดจากสุญญากาศทำให้เกิดเลือดคั่งขึ้นในบริเวณนั้น วิธีการนี้มีมาแต่โบราณโดยใช้เขาสัตว์มาทำเป็นรูปกระปุก จากนั้นก็ปฏิบัติกันต่อมาโดยมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ทำเช่น กระเบื้อง โลหะ แก้ว วิธีการฝังเข็ม ภายหลังแพทย์ตรวจวินิจฉัยอาการโรคเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้เข็มที่ทำด้วยสแตนเลสไม่เป็นสนิมที่มีขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 1 - 10 เซนติเมตร ความยาวของเข็มจะขึ้นอยู่กับความหนา-บางของบริเวณที่จะลงเข็ม เข็มที่ใช้เป็นเข็มที่สะอาด ปลอดเชื้อ ทำความสะอาดผิวหนังด้วยยาฆ่าเชื้อโรค แล้วปักเข็มทะลุผิวหนังตรงจุดผังเข็มตามแนวเส้นลมปราณที่ตรงกับอาการของโรคให้ความลึกขนาดต่างๆกัน ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยเมื่อเข็มผ่านผิวหนัง และจะหายเจ็บเมื่อถึงชั้นใต้ผิวหนังแล้ว เมื่อปลายเข็มเข้าไปอยู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อๆ หรือหนักๆ บริเวณโดยรอบจุดฝังเข็มนั้นๆ ซึ่งเรียกว่า “ (เต๋อชี่)” หลังจากนั้นแพทย์ใช้มือปั่นเข็มหรือกระแสไฟฟ้าศักดาต่ำๆ ต่อเข้ากับปลายด้ามจับเข็ม การรักษาแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที ระหว่างการรักษาผู้ป่วยจะอยู่ในท่าที่สบายที่สุด ดังนั้นการรักษาโดยวิธีฝังเข็มจึงช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจและผ่อนคลาย นับเป็นการช่วยทางด้านจิตใจทางหนึ่ง การรักษาควรทำซ้ำหลายครั้ง จำนวนครั้งของการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค โรคที่เป็นอย่างเฉียบพลันอาการจะดีขึ้นภายหลังการรักษา 1-3 ครั้ง ในรายที่มีอาการเรื้อรังต้องทำการรักษา ประมาณ 10-20 ครั้งจึงเห็นผล การรักษาจะกระทำทุกวัน หรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อาการแทรกซ้อนจากการฝังเข็ม
  • 1.การเป็นลม หรือหากไม่หมดสติเรียกว่า เมาเข็ม มักเกิดในขณะฝังเข็มหรือขณะคาเข็ม ส่วนมากพบในรายที่มาฝังเข็มเป็นครั้งแรก สาเหตุพื้นฐานที่อาจทำให้เกิดการเป็นลม ได้แก่ ตื่นตระหนกหรือหวาดกลัวมาก ตื่นเต้นมาก หิวหรืออิ่มมากเกินไป สภาพร่างกายอ่อนเพลียมาก
  • 2.เลือดซึม ออกเล็กน้อยตามรูเข็ม พบได้บ่อยส่วนใหญ่เลือดที่ออกจะหยุดเองหรือโดยการกดไว้ชั่วครู่ และไม่มีผลข้างเคียงใดๆ เลือดออกเล็กน้อยใต้ผิวหนัง เกิดเป็นรอยช้ำ พบได้ในตำแหน่งที่มีเส้นเลือดฝอยมาก มักไม่มีอันตรายหรือผลข้างเคียงใดๆ รอยช้ำจางหายได้เองในเวลาไม่กี่วัน
  • 3. เข็มติด หรือเข็มหนืด คือหลังจากแทงเข็มลงไปแล้ว ดึงไม่ออก ดันเข็มไม่ลง หมุนซ้ายหมุนขวาไม่ได้ สาเหตุจากกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งบีบรัดเข็มอย่างรุนแรง ผู้ป่วยขยับเปลี่ยนท่าขณะที่มีเข็มคาอยู่
  • 4.เข็มงอ มีอาการเหมือนเข็มติด สาเหตุเกิดจากขณะแทงเข็มใช้แรงดันมากเกินไป หรืออาจแทงถูกเนื้อเยื่อที่แข็ง เช่นกระดูกหรือพังผืด แล้วออกแรงดัน เข็มจึงงอ
  • 5. เข็มหัก มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก เข็มหักมักเข็มงอก่อนแล้วจึงหัก ส่วนที่หักง่ายของเข็มคือคอเข็ม (รอยต่อระหว่างตัวเข็มกับด้ามเข็ม) อาการแทรกซ้อนต่างๆ ดังกล่าวสามารถป้องกันและแก้ไขได้อย่างปลอดภัย
  • การปฏิบัติตัวและข้อควรระวังในการฝังเข็ม แพทย์จะทำการวิเคราะห์โรคและปักเข็มลงในจุดที่มีผลในการรักษา โดยใช้เข็มที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จำเป็น ตามปกติจะไม่ใช้เข็มจำนวนมากในการรักษาแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บมากเกินไป ผู้ป่วยควรมีความตั้งใจที่จะรับการรักษา และไม่ควรกังวลหรือกลัวมากเกินไป เช่น กลัวการติดเชื้อ ความเจ็บปวด นอกจากนั้นหากผู้ป่วยมีโรคติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอันอาจติดต่อไปยังผู้อื่นได้ หรือมีโรคประจำตัว มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ/การหายใจ โรคลมชัก ตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบก่อนลงมือรักษา ปัจจุบันการให้บริการฝังเข็มในประเทศไทยจะใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทำลายไม่กลับมาใช้อีก
  •   การเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนและหลังรับการรักษาด้วยการฝังเข็ม
  • 1.การเตรียมตัวก่อนการรักษา
  • 2.นอนหลับให้เต็มที่ในคืนก่อนมารับการฝังเข็ม
  • 3.ควรรับประทานอาหารก่อนมารับการรักษา แต่อย่าให้อิ่มเกินไป
  • 4.สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม
  • ระหว่างการปักเข็มผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกได้ 2 แบบ ดังนี้
  • 1.1 รู้สึกหนักๆ หน่วง ๆ ตื้อๆ ในจุดฝังเข็มในระหว่างที่เข็มปักคาอยู่
  • 1.2 มีความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าแล่นแปลบๆ ไปตามเส้นลมปราณ เนื่องจากแพทย์จะปักเข็มไว้ข้างๆเส้นประสาทบางเส้น เพื่อผลการรักษาที่ดีแพทย์จะปักเข็มไว้ประมาณ 20-30 นาที โดยอาจกระตุ้นด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า (ไฟฟ้าที่ใช้มีต่างศักย์ต่ำ จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟซ๊อตจนเกิดอันตราย) จากนั้นจะถอนเข็มออก ในระหว่างการคาเข็ม ผู้ป่วยต้องพยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มเพราะเข็มจะบิดในกล้ามเนื้อ แม้ไม่เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เจ็บมากขึ้นและมีเลือดออกตอนถอนเข็ม ผู้ป่วยสามารถขยับตัวได้บ้างเล็กน้อย พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะสบายที่สุด แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆ เช่นรู้สึกหวิวๆ หน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้แจ้งแพทย์ที่รักษาทราบทันที
  • 2. การดูแลตนเองหลังจากการฝังเข็ม
  • 2.1 ควรดื่มน้ำอุ่นหลังการฝังเข็ม
  • 2.2 สำรวจร่างกายตนเองบริเวณฝังเข็ม ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออก มีรอยบวม รู้สึกเจ็บปวด ต้องแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันทีเพื่อแก้ไขให้เป็นปกติก่อนกลับบ้าน
  • 2.3 งดการอาบน้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม
  • 2.4 พักผ่อนให้เต็มที่อีก 1 วัน
  • 2.5 ถ้าไม่มีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเองภายใน 24-48 ชั่วโมงโดยไม่มีอันตรายใดๆ
  • 3.ข้อควรระวังในการฝังเข็ม
  • 3.1 ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ต้องให้การรักษาอย่างระมัดระวัง
  • 3.2 ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน)
  • 3.3 ผู้ป่วยโรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด
  • 3.4 ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • 3.5 โรคที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่นอน
 

ขั้นตอนการรักษา โรคด้วยการฝังเข็ม

เมื่อตัดสินใจรักษาโรคด้วยการฝังเข็มแล้วจะต้องพบกับอะไรบ้าง? ผู้ป่วยบางคนนึกในใจว่า คงจะถูกหมอเอาเข็มฝังเข้าไปไว้ในตัวเหมือนกับพิธีไสยศาสตร์ที่เสกตะปูใส่ในท้อง บางคคนอาจาคิดว่า คงจะเอาเข็มฝังไว้ใต้ผิวหนังที่แขน เหมือนกับการฝังยาฮอร์โมนคุมกำเนิดของผู้หญิง?นี่เป็นตัวอย่างของความเข้าใจผิดของผู้ป่วยที่มีต่อการฝังเข็ม เวชกรรมฝังเข็มเป็นศาสตร์สำหรับรักษาโรคอย่างหนึ่ง จึงต้องมีวิธีการที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การรักษาจึงจะได้ผล ผู้ป่วยจึงจะหายจากโรค ถ้าหากขั้นตอนการรักษาไม่ครบหรือไม่เป็นไปตามลำดับ ผลการรักษาย่อมจะดีหรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ กล่าวสำหรับผู้ป่วยแล้ว การที่ได้ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการรักษาล่วงหน้า ย่อมจะช่วยลดความกังวลใจหรือความตื่นเต้นหวาดกลัวลงไปได้ ถ้าหากผู้ป่วยสามารถประสานให้ความร่วมมือกับแพทย์ได้ดี กระบวนการรักษาก็จะสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การรักษาย่อมจะปรากฏผลออกมาในทางที่ดีเสมอ ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม มีดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 วินิจฉัยโรค เมื่อผู้ป่วยมาหา แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อทำการวินิจฉัยอาการและโรคเสียก่อนว่า ผู้ป่วยป่วยด้วยโรคอะไร มีอาการเจ็บปวดไม่สบายอะไรบ้าง อาการไหนเป็นอาการหลักที่สำคัญ อันไหนเป็นอาการรอง อาการไหนต้องรักษาก่อน อาการไหนค่อยรักษาทีหลัง มีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้างหรือไม่ มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 กำหนดแผนการรักษา เมื่อวินิจฉัยอาการและโรคแล้ว แพทย์ก็จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผนการรักษาเช่น จะต้องกำหนดเลือกจุดปักเข็มว่าจะใช้จุดอะไรบ้าง ตำแหน่งตรงไหน ใช้กี่จุด จุดไหนเป็นจุดหลักที่จะต้องปักทุกครั้ง จุดไหนเป็นจุดรองที่จะใช้ปักเป็นบางครั้งเหมือนกับแพทย์แผนปัจจุบันที่จะต้องเขียนใบสั่งยา (prescription) ว่าจะใช้ยากี่ตัว มีอะไรบ้าง รับประทานครั้งละกี่เม็ด วันละกี่เวลา เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 จัดท่าผู้ป่วย แพทย์จะจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมกับการปักเข็ม เช่น ใช้ท่านอนคว่ำเมื่อจะตั้องปักเข็มบริเวณหลังหรือเอว ใช้ท่านอนหงายเมื่อจะต้องปักเข็มบริเวณใบหน้า หน้าท้อง แขนขา ใช้ท่านั่งในกรณีต้องปักเข็มบริเวณต้นคอหรือท้ายทอย และในบางครั้งอาจต้องใช้ท่าตะแคง เป็นต้น ขั้นตอนที่ 4 ปักเข็ม แพทย์จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดบริเวณผิวหนัง แล้วใช้เข็มเล็ก ๆ ที่ปราศจากเชื้อ ปักลงไปบนจุดฝังเข็มที่กำนหดเอาไว้ในแผนการรักษา การปักเข็มจะต้องปักผ่านชั้นผิวหนังอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บมากนัก ขณะที่เข็มปักผ่านผิวหนัง ผู้ป่วยอาจจะรุ้สึกเจ็บเล็กน้อยเหมือนถูก “มดกัด” หรือคล้ายกับถูกฉีดยา (แต่จะเจ็บน้อยกว่าฉีดยามาก) ความเจ็บปวดขณะปักเข็มจะมีมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับฝีมือของแพทย์ผู้รักษาว่าชำนาญหรือไม่เป็นสำคัญ แพทย์ที่มีความชำนาญมาก ย่อมปักเข็มได้คล่องแคล่วแม่นยำ ความรู้สึกเจ็บปวดของผู้ป่วยก็น้อยลง ก่อนฝังเข็ม ผู้ป่วยบางคนอาจขอร้องให้แพทย์ฉีดยาชา เพื่อระงับความเจ็บปวดเสียก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นเลย เหตุผลมีอยู่ว่า ประการแรก การถูกฉีดยาชาเจ็บปวดมากกว่าการปักเข็มเสียอีก หากต้องปักเข็มหลาย ๆ จุด ผู้ป่วยก็จะเจ็บตัวมากขึ้นโดยเปล่าประโยชน์ ประการที่สอง ซึ่งสำคัญมากนั่นคือ ยาชาไม่เพียงแต่ยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดเท่านั้น แต่มันยังยับยั้งการส่งสัญญารณประสาทอื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้งสัญญาณประสาทจากการกระตุ้นด้วยการฝังเข็ม ฤทธิ์รักษาโรคของการฝังเข็มก็จะลดลงหรือไม่มีเลย เพราะปลายประสาทไม่ถูกกระตุ้นนั่นเอง ความลึกของเข็มที่ปักลงไปนั้นจะแตกต่างกันไป ในแต่ละตำแหน่งของจุดฝังเข็ม ตัวอย่างเช่น บริเวณใบหน้าจะปักเข็มลึกประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร บริเวณหลังหรือแขนขาอาจปักลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนบริเวณสะโพก อาจปักลึกถึง 10 เซนติเมตรก็มี รูปร่างของผู้ป่วยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะกำหนดความลึกของเข็มที่ปัก คนที่มีรูปร่างอ้วน ชั้นไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังจะหนา เข็มที่ปักลงไปก็ต้องลึกมากกว่าคนที่มีรูปร่างผอม แต่สิ่งที่แพทย์จะคำนึงถึงมากที่สุดคือ เข็มต้องปักลงไปให้ลึกพอ จนถึงจุดที่จะทำให้เกิด “ความรู้สึกได้ลมปราณ” โดยที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือเสียวบริเวณที่ถูกเข็มปัก แพทย์ผู้ปักเข็มเองก็จะรู้สึกได้ว่าเข็มถูกใยกล้ามเนื้อหนียบรัดไวแน่นหนึบ ๆ ซึ่งตำราแพทย์จีนในสมัยโบราณ บรรยายว่า เป็นความรู้สึกแน่นหนึบ ๆ เหมือน “เบ็ดถูกปลาตอด” บางครั้งความรู้สึกดังกล่าวอาจแผ่เคลื่อนที่ไปตามแนวทางเดินเส้นลมปราณก็ได้ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับว่า ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกได้ลมปราณหรือไม่เป็นอย่างมาก ถ้าปักตรงจุดแล้ว “ได้ลมปราณ” เกิดขึ้น การรักษาจึงจะได้ผลดี ยิ่งรู้สึกว่าลมปราณมีการเคลื่อนที่ออกไปได้ ผลการรักษาก็จะยิ่งดีมากที่สุด ถ้าปักเข็มไปแล้วผู้ป่วยไม่รู้สึกอะไรเลย ผู้ปักเข็มรู้สึกโล่ง ๆ เหมือนกับปักเข็มทะลุแผ่นกระดาษ คาดได้เลยว่าผลการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่า “ความรู้สึกได้ลมปราณ” เป็นสิ่งบอกให้ทราบว่าเข็มถูกปักลงไปได้ตรงกับบริเวณตัวรัสัญญาณประสาท (receptor) ทำให้เกิดสัญญาณประสาท เพื่อไปกระตุ้นกลไกระบบประสาทและระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ขั้นตอนที่ 5 กระตุ้นเข็ม บางครั้งเมื่อปักเข็มแล้ว ความรู้สึกได้ลมปราณจะไม่เกิดทันที ต้องอาศัยการกระตุ้นเข็มมช่วยสักครู่หนึ่ง ลมปราณถึงจะเกิดขึ้นได้ การกระตุ้นเข็มมี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ กระตุ้นด้วยการใช้มือหมุนปั่นเข็มไปทางซ้ายขวาหรือปักและดึงเข็มขึ้นลงสลับกัน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการ “แบบฉบับ” ของเวชกรรมฝังเข็มแบบจีนจริง ๆ โดยทั่วไปแพทย์จะทำการกระตุ้นอยู่ประมาณ 1 นาที เป็นระยะ ๆ ทุก 5-10 นาที รวมเวลาที่กระตุ้นเข็มทั้งหมดประมาณ 20-30 นาที ส่วนการกระตุ้นอีกแบบนั้น นิยมใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (stimulator) ต่อสายไฟติดกับเข็ม แล้วเปิดเครื่องกระตุ้น ผู้ป่วยจะรุ้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็มกระตุกเบา ๆ เป็นจังหวะสม่ำเสมอ การกระตุ้นแบบนี้จะไม่มีความรู้สึกได้ลมปราณชัดเจนเท่ากับแบบแรก เหมาะสำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก และแพทย์ไม่มีเวลามากระตุ้นเข็มให้ผู้ป่วยทีละคนได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ป่วยมีร่างกายอ่อนแอ ไม่เหมาะกับการถูกกระตุ้นแรง แพทย์อาจปักเข็มคาเอาไว้เฉย ๆ หรือกระตุ้นเข็มเบา ๆ เท่านั้น สรุปแล้วขั้นตอนนี้จะใช้เวลาปักเข็มคาเอาไว้ประมาณ 20-30 นาที ขั้นตอนที่ 6 ถอนเข็ม เมื่อกระตุ้นเข็ม ครบตามเวลาที่กำหนด แพทย์ก็จะถอนเข็มออกทั้งหมด โดยไม่มีการ “ฝัง” เข็มเอาไว้ในร่างกายแต่อย่างไรเลย (ยกเว้นเข็มบางชนิด อาจติดคาเอาไว้เป็นเวลานานหลายวัน เช่น เข็มใต้ผิวหนัง เข็มหู เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษออกไป) จากนั้นจึงเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาในครั้งนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้ว การรักษาจะทำวันละ 1 ครั้ง ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง cแล้วแต่สภาพของโรคและตัวผู้ป่วย โรคบางอย่างเช่น โรคอัมพาตที่มีอาการหนัก อาจต้องฝังเข็มรักษาวันละ 2 ครั้งก็มี การรักษาจะทำติดต่อกันประมาณ 7-10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 5-7 วัน เรกว่าเป็น “ชุดของการรักษา” (course) โรคที่เป็นมาไม่นานอาจรักษาเพียงชุดเดียวก็หายขาด แต่โรคที่เป็นเรื้อรังมานานหรือโรคที่ซักซ้อน อาจต้องรักษาติดต่อกันหลายชุดก็ได้ หลังการรักษาแต่ละครั้ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ สามารถกลับไปทำงานหรือเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ บางคนอาจมีอาการล้าปวดเมื่อยตามตัวได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นอาการปกติและมักจะหายไปได้เองในวันสองวันต่อมา การฝังเข็มไม่มีแสลงกับอาการใด ๆ เลย ผู้มารับการรักษาสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติของแต่ละคน วิธีการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นขั้นตอนการรักษาด้วยเข็มที่มีลักษณะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่า เข็มเส้นขน (filiform needle) อันเป็นเข็มที่นิยมใช้กันมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีเข็มแบบอื่น ๆ อีก เช่น เข็มหู เข็มผิวหนัง เข็มไฟ ซึ่งจะมีรายละเอียดการรักษาต่างออกไปบ้าง แต่ขั้นตอนโดยหลัก ๆ ก็ยังเป็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นั่นเอง

การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร

การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้ เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "จู๋ซานหลี่" ของเส้นลมปราณกระเพาะอาการที่อยู่บริเวณหน้าแข็ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาการที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดกระเพาะอาการมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาพปกติได้ เมื่อใช้การรมยากระตุ้นจุด "จื้อยิน" ที่บริเวณนิ้วก้อยของเท้า พบว่า สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของสตรีที่ตั้งครรภ์ ให้หดตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำให้ทารกในครรภ์มีการหมุนเคลื่อนตัว จึงสามารถใช้วิธีการนี้มารักษาภาวะทารกในครรภ์อยู่ผิดท่าได้ ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ได้จากความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็มพบว่า การกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นสมอง ให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท (neurotransmitters) ออกมาหลายชนิด ที่สำคัญคือ เอนดอร์ฟิน (ndorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่ามันแรงมากกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็มจึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนี้ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารฮอร์โมนที่สำคัญออกมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กว้างขวางมาก เช่น การลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานภายในร่างกาย เป็นต้น ฤทธิ์ในการปรับควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ด้วยการฝังเข็มนั้น มีลักาณะพิเศษที่เรียกว่า "ทวิภาพ" (Biphasic effect) หมายความว่า การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกันสามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ อาจ "กระตุ้น" ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรืออาจ "ยับยั้ง" ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพวะของอวัวะหรือร่างกายของ ผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานน้อยเกินไป (hypofunction) การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ "กระตุ้น" ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ (normofunction) ในทางตรงกันข้าม ถ้าวอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไป (hyperfunction) การฝังเข็มกลับจะออกฤทธิ์ "ยับยั้ง" ทำให้มันทำงานลดน้อยลงไปสู่ระดับปกติ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ เช่น เร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที การฝังเข็มสามารถจะยับยั้งให้มันเต้นช้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ตรงกันข้าม ถ้าหัวใจเต้นช้า เช่น น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มก็จะสามารถกระตุ้นให้มันเต้นเร็วขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยคนนั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่สภาพวะปกติอยู่แล้ว การฝังเข็มกระตุ้นมักจะไม่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยนผิดปกติไปได้ นั่นหมายความว่า ถ้าปักเข็มในคนที่อยู่สภาวะปกติ มักจะไม่มีผลอะไรปรากฎออกมาอย่างชัดเจน เพราะว่าฤทธิ์ของการฝังเข็มในการปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะหรือระบบต่าง ๆ จะเห็นได้ชัดเจนก็ต่อเมื่ออวัยวะหรือระบบนั้นมีความผิดปกติเสียสมดุลในการทำงานไปแล้ว สมมุติว่า คน ๆ นั้นมีอัตราการเต้นหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติประมาณ 70 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มไปแล้ว จะไม่สามารถกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นผิดปกติเร็วขึ้นเป็น 100 ครั้งต่อนาทีหรือช้าลงไปเป็น 30 ครั้งต่อนาทีได้เลย ต่างไปจากการใช้ "ยา" ยาจะมีฤทธิ์เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว เท่านั้นคือ "กระตุ้น" หรือไม่ก็ "ยับยั้ง" ในกรณีที่หัวใจเต้นช้า เราอาจฉีดยาอะโทรปิ่น (atropine) เพื่อกระตุ้นเร่งหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นได้ ถ้าหัวใจเต้นเร็วอยู่แล้วหากเรายังฉีดยาอะโทรปิ่นให้แก่ผู้ป่วยเข้าไปอีก หัวใจก็จะยิ่งเต้นเร็วขึ้น จนอาจเกิดอันตรายให้แก่ผู้ป่วยได้ในที่สุด แต่ถ้าฝังเข็ม ผลที่ปรากฏออกมาจะมี 2 แบบ เท่านั้นคือ หัวใจเต้นช้าลงมาสู่ปกติ หรือไม่ก็ยังคงเต้นเร็วอยู่เท่าเดิม การฝังเข็มจะไม่ทำให้หัวใจที่เต้นเร็วอยู่แล้ว ยิ่งเต้นเร็วขึ้นไปอีกอย่างเด็ดขาด การฝังเข็มจึงไม่มีอันตรายจากการใช้เกินขนาด (overdose) หรือการเกิดพิษ (intoxication) เหมือนเช่นกับการใช้ยา ในด้านระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็เช่นกัน การฝังเข็มมีฤทธิ์กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติมีการทำงานเพิ่มขึ้น เช่น กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวกินสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคในร่างกายได้ดีขึ้น กระตุ้นให้มีการหลั่งสารแอนตี้บอดี้ (antibody) กระตุ้นการสร้างสารเคมีที่ควบคุมกลไกภูมิคุ้มกันให้เพิ่มมากขึ้น การฝังเข็มจึงสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของคนเราให้เข็มเข็งขึ้นได้ ตรงกันข้าม ในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป เช่น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ การฝังเข็มจะช่วยยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นมากเกินไปให้ลดน้อยลงได้ ฤทธิ์ในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของการฝังเข็มนี้ ส่วนหนึ่งมาจากบทบาทของเอนดอร์ฟีนที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาด้วย การฝังเข็มนั่นเอง ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่นั้น การฝังเข็มเป็นวิธีการกระตุ้นระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สามารถปรับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสียสมดุลผิดปกติไปให้กลับสู่สภาพปกติโดยผ่านทางระบบประสาท ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "Neuromodulation" จากการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ นักวิยาศาสตร์และแพทย์พบว่า เมื่อปักเข็มลงไปยังจุดหนึ่ง ๆ แล้วทำการกระตุ้นเข็ม จะเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ นับตั้งแต่ผิวนหนัง, เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง, เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) , กล้ามเนื้อ, เส้นประสาท, หลอดเลือด เป็นต้น ทำให้เกิดสัญญาณประสาทวิ่งผ่านเข้ามาในไขสันหลัง สัญญาณประสาทส่วนหนึ่ง จะย้อนออกไปจากไขสันหลังเกิดเป็นวงจรสะท้อนกลับ (reflex) ไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น สัญญาณประสาทอีกบางส่วน จะเคลื่อนที่ขึ้นไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่าง ๆ ในสมอง มีการหลั่ง "สารสื่อสัญญาณประสาท" (neurotransmitter) ต่าง ๆ ออกมาจากเซลล์ประสาทหลายชนิดพร้อมกับมีสัญญาณประสาทส่งย้อนลงมาจากสมองอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) สัญญาณประสาทที่ส่งออกมาพร้อมกับสารสื่อสัญญาณประสาทที่หลั่งออกมานั้น จะก่อให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมาหลายอย่าง อาทิเช่น - ยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอันตราย - ปรับการทำงานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่เสียสมดุลไปให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ - ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายอย่างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อปรับให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุลเป็นปกติ - กระตุ้นปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ เพื่อ ขจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ไวเกิน ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น โดยผ่านฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นสำคัญ ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ หรือสเตียรอยด์ (steroids) นั้น เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นร่างกายได้กว้างขวางมาก ยาเพรดนิโซโลนที่ใช้กันในทางการแพทย์ซึ่งถือเป็น " ยาสารพัดนึก" ที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุที่ การฝังเข็มสามารถกระตุ้นร่างกายให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ได้ ประกอบกับการฝังเข็มก็สามารถกระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ทุกระบบ จึงไม่แปลกใจเลยที่ฤทธิ์การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มจึงมีอยู่กว้างขวางมากมายเช่นกัน การผังเข็มจะกระตุ้นให้เกิดสัญญาณประสาท ส่งเข้าไปยังไขสันหลังแล้วออกวกออกมา ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งเกิดการคลายตัว และหลอดเลือดที่หดตัวเกิดการขยายตัว สัญญาณประสาทบางส่วนจะถูกส่งขึ้นไปยังสมองกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท เช่น เอนดอร์ฟินและฮอร์โมนต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณประสาทกลับลงมาตามไขสันหลังและเส้นประสาท เพื่อช่วยปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สมดุลเป็นปกติ จะเห็นว่า กลไกในการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มนั้น มิใช่เป็นกลไกที่ง่าย ๆ แต่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับทุกระบบของร่างกาย โดยสรุปแล้ว จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ 2. ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 3. ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 4. ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว 5. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มมิใช่ "เข็มวิเศษ" ที่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน ถ้าเป็นโรคที่มีพยาธิสภาพของอวัยวะเสียหายรุนแรง เป็นเรื้อรังมานาน ผู้สูงอายุวัยชราที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพมาก ไม่ว่าจะฝังเข็มกระตุ้นอย่างไร ร่างกายก็อาจจะไม่ตอบสนอง การรักษาก็อาจจะไม่ได้ผลดีตามที่คาดคิดเอาไว้ก็ได้ ซึ่งตัวอย่างผู้ป่วยทำนองนี้ก็มีให้เห็นอยู่เสมอ 50 ปีทีผ่านมานี้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้เราได้เข้าใจกลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มเป็นอย่างมากทีเดียว แต่เราก็ยังไม่ได้เข้าใจมันทั้งหมด สิ่งที่เรายังไม่เข้าใจหรือยังค้นหาคำตอบไม่ได้ ยังมีอีกมากเช่นกัน นั่นเป็นสิ่งที่รอให้เราไปค้นคว้าแสดงหาคำตอบ และเราก็จะเข้าใจกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์ของเวชกรรมวังเข็มมากยิ่งขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน

ตารางประชุม ปี 2556

มิถุนายน  2556
 3        จ            สสจ           เปิดซองประมูลรถตู้ 12 ที่นั่ง

พฤษภาคม 2556
1        พ            กทม             ตัวแทนผอรพช ประชุม P4P
                                               ร่วมกับ รมต ปลัด
2-3     พฤ ศ     จ เลย            ประชุม ผอ
 


16       พฤ         สสจ              ประชุมแพทย์แผนไทย
20       จ             ขอนแก่น      ประชุมชี้แจง P4P  จาก กระทรวง
22-23  พ พฤ    สสจ ระยอง  วิทยากร บรรยาย ให้ จนท ใหม่ 
31       ศ            สสจ              ประชุมประจำเดือน  กวป
           ศ            รพ แพทย์แผนไทย
           วิทยากร บรรยาย การใช้สมุนไพรแก่แพทย์แผนไทย
                                                จ สกลนคร

เมษายน 2556
4          พฤ           สสจ             รับผู้ตรวจราชการเขต 8
19        ศ              สสจ              วิทยากร บรรยาย การใช้สมุนไพร
                                                   แก่ แพทย์แผนไทยจ สกลนคร

19        ศ              รพ สว่างแดน    วิทยากร บรรยาย การใช้
                                                        สมุนไพรแก่ แพทย์ เภสัช จบ
                                                        ใหม่ 
30       อ      บ       รพ เจริญศิลป์  ประชุม กวป ประจำเดือน


มีนาคม 2556
5-6       อ-พ            จ อุดรธานี ประชุม การบริหารการเงิน
                                                   โรงพยาบาลชุมชน

8           ศ                สสจ        ประชุมจัดสรรแพทย์ 56
11         จ                ขก           ประชุม ค่าตอบแทนเหมาจ่าย
                                                   ฉบับ 4  6

18         จ                สสจ         รับรัฐมนตรี
19          อ   บ         สสจ         กรรมการ c8  หัวหน้าฝ่ายการ  
                                                     พยาบาล
22         ศ                                 ลาพักร้อน
26         อ                สสจ         วิทยากร บรรยาย การใช้สมุนไพร
                                                 แก่ แพทย์ใช้ทุน จ สกลนคร
29        ศ                 สสจ         ประชุมผู้บริหาร


กุมภาพัน 2556
7          พฤ                 สสจ รับรัฐมนตรี

21        พฤ                 สสจ  ประธานคัดเลือกข้าราชการ
26-27   อ-พ                ลาพักร้อน
28        พฤ                 รพ โพนนาแก้ว  ประชุมประจำเดือน กวป

มกราคม 2556
3           พฤ       ช      สสจ ประชุม UC
7            จ          บ      สสจ ประชุม ย้ายแพทย์ ทันตะ เภสัช
14-16    จ-พ               สสจ ระยอง วิทยากร การพัฒนา UC 56
17-18    พฤ-ศ   บ      รพ สว่าง วิทยากรแพทย์แผนไทย
21-23    จ-พ      บ      รพ สว่าง วิทยากรแพทย์แผนไทย
24-25     พฤ-ศ           กทม ประชุมแพทย์ชนบท
31          พ         บ       สสจ ประชุม กวป ประจำเดือน

การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ2556

ยาสมุนไพร สสจ. สกลนคร  2556   นพ โกมล ภู่ถาวรทรัพย์  
         
1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)
ยาหอมนวโกฐ   . แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ
                                 . แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน

                                    เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย)
   .5-1  ช้อนชา   ทุก 3 ชม  น้ำสุก

ยาหอมอินทจักร์  . แก้ลมบาดทะจิต  . แก้คลื่นเหียนอาเจียน    . แก้ลมจุกเสียด

    .5-1  ช้อนชา   ทุก 3 ชม  น้ำสุก

2. ยาแก้ไข้
ยาเขียวหอม . บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ

                           . แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและอีสุกอีใส)

    .5-1  ช้อนชา   ทุก 4-6  ชม  น้ำสุก

ยาจันทน์ลีลา บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

     เด็ก .5-1 เม็ด  ผู้ใหญ่  1-2 เม็ด   ทุก 4 ชม

ยาห้าราก บรรเทาอาการไข้

   2-4 แคปซูล   3  ครั้ง    ก่อนอาหาร

3. ยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน
ยารางจืด         1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

4. ยารักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ
ยาฟ้าทะลายโจร . บรรเทาอาการเจ็บคอ
      ๒.บรรเทาอาการของโรคหวัด เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ           

      2-4 แคปซูล  4 ครั้ง

5. ยาบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

       2 ชช  3-4 ครั้ง

ยาตรีผลา บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ   
       1-2 แคปซูล 3 ครั้ง

ยาประสะมะแว้ง บรรเทาอาการไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะ

       3-5 เม็ด เวลาไอ

ยาอำมฤควาที บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

      1 ชช  จิบ กวาดคอ  

6. ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ยากล้วย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร        

        1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

7. กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ยาธาตุบรรจบ  บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

      2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาธาตุอบเชย  ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ยาขมิ้นชัน บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ

       2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาขิง . บรรเทาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด

           . ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ

            . ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด

       4 แคปซูล  3 ครั้ง

       2 ซอง  3 ครั้ง   ขับน้ำนม

8. กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องผูก
ยาธรณีสันฑะฆาต   แก้เถาดาน ท้องผูก

       1-2 แคปซูล ก่อนนอน

ยาชุมเห็ดเทศ บรรเทาอาการท้องผูก

9. กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องเสีย
ยากล้วย
        บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อเช่นอุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน

1ซอง250ซีซี 3 ครั้ง
 
ยาธาตุบรรจบ  บรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น
                         อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

        2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาเหลืองปิดสมุทร บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็น
                      มูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้  

        ผู้ใหญ่  10 เม็ด    ทุก 3-5  ชม

         เด็ก  3-5 เดือน  2 เม็ด  เด็ก  6-12 เดือน  3-4 เม็ด เด็ก  1-5 ปี  5-7 เม็ด     เด็ก  6-12 ปี  8-10 เม็ด    

ยาฟ้าทะลายโจร
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน
       2-4 แคปซูล 4 ครั้ง
     
10. กลุ่มยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก
ยาผสมเพชรสังฆาต        
         2 แคปซูล  2 ครั้ง

11. ยารักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ยาผสมโคคลาน บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

      ชนิดต้ม นำตัวยาทั้งหมดมาเติมให้น้ำให้ท่วมตัวยา ต้มน้ำเคี่ยว สามส่วนเหลือหนึ่งส่วน

        ดื่มครั้งละ ๑๒๐ - ๒๐๐ มิลลิลิตร วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

ยาผสมเถาวัลย์เปรียง บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

      1 -2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาสหัศธารา ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ

    2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาเถาวัลย์เปรียง บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

     1 -2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาพริก บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ (musculoskeletal pain)

ยาไพล บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ยาน้ำมันไพล บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ยาประคบ ประคบเพื่อลดอาการปวด และ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เอ็น และ ข้อ กระตุ้นหรือเพิ่ม

                     การไหลเวียนของโลหิต

12. ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ยาประสะไพล   . ระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ

                                . บรรเทาอาการปวดประจำเดือน   . ขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร

      2-3 แคปซูล 3 ครั้ง

ยาไฟประลัยกัลป์  ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

   2 ชช  3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ว่านชักมดลูก      ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

     2 แคปซูล  3 ครั้ง  ก่อนอาหาร

13. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ
ยาหญ้าหนวดแมว แก้ขัดเบา ชะล้างทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ ขับนิ่วขนาดเล็ก

     1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

ยากระเจี๊ยบแดง ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

     1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

14. ยารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา น้ำกัดเท้า

    ทา 1-4 ครั้ง

15. ยารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเริมและงูสวัด
ยาพญายอ  . ยาครีม 2 ทิงเจอร์ บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด         
    ทา 3-4 ครั้ง                        

16. ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ
ยาเบญจกูล บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ       
     2-3 แคปซูล  3 ครั้ง

17. ยาบำรุงโลหิต
ยาบำรุงโลหิต                
      1ชช   2  ครั้ง  ก่อนอาหาร

ตารางประชุม ปี 2556

กุมภาพัน 2556
7           พฤ        สสจ   รับรัฐมนตรี
8           ศ           สสจ   รับรัฐมนตรี
 
มกราคม 2556
3            พฤ      ช    สสจ               ประชุม UC 
7            จ          บ    สสจ               ประชุม ย้ายแพทย์ ทันตะ
                                                                     เภสัช        
14-16     จ-พ            สสจ ระยอง  วิทยากร การพัฒนา UC 56
17-18     พฤ-ศ   บ   รพ สว่าง       วิทยากรแพทย์แผนไทย
21-23     จ-พ      บ   รพ สว่าง       วิทยากรแพทย์แผนไทย
24-25     พฤ-ศ         กทม              ประชุมแพทย์ชนบท
31          พ          บ   สสจ               ประชุม กวป ประจำเดือน

พลังจิตใต้สำนึก

                                                    พลังจิตใต้สำนึก




                         


จิตสำนึก (Conscious mind) เป็นจิตปกติธรรมดาของคนเราในขณะตื่นอยู่ มีความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น ไม่อยู่นิ่ง มีความเป็นอิสระในการคิด และเลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ชอบและ สนใจ จิตสำนึกอาศัยสมองเป็นเครื่องมือทำการแยกแยะเหตุผล แสดงออกถึงความสงสัย การคาดคะเน การคิดคำนวณ หรือการยอมรับเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่ไม่สนใจก็ตัดออก แต่ถ้ามีสิ่งสนใจ จะส่งผ่านไปยังจิตใต้สำนึกให้จดจำเก็บเอาไว้

จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) อยู่ลึกกว่าจิตสำนึก แต่อาจจะแสดงออกมาชัดเจนในบางครั้ง เป็นจิตที่ว่างจากอารมณ์และความคิด ช่วงที่กำลังเข้าสู่ภวังค์ เช่น กำลังเคลิ้มหรือครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือเข้าสู่สมาธิ

จิตใต้สำนึกมีอำนาจสร้างสรรค์ ส่วนจิตสำนึกไม่มีอำนาจการสร้างสรรค์ มีหน้าที่เพียงส่งความคิดเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประทับใจ ผ่านไปให้จิตใต้สำนึกเท่านั้น หากจิตสำนึกมิได้พิจารณาเหตุผลหาข้อมูลที่ถูกต้อง จิตใต้สำนึกก็ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง อำนาจการสร้างสรรค์ก็พลอยผิดพลาดไปด้วย

อย่างไรก็ดี จิตใต้สำนึกมีอิสระ ไม่ต้องอาศัยสมองเป็นเครื่องมือทำให้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างจิตและสมอง เราสามารถอาศัยช่องว่างนี้เป็นพื้นฐานทำให้สามารถกำหนดสติให้จิตตั้งมั่นจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นจุดเดียว คือการทำสมาธิซึ่งสามารถเป็นปัจจัยนำไปสู่การค้นพบ ตลอดจนการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างน่าทึ่ง

โดยปกติ คนเราส่วนใหญ่จะใช้จิตสำนึกในการดำเนินชีวิต มีน้อยคนที่จะรู้จัก และนำพลังจิตใต้สำนึกมาใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับคนที่นำพลังจิตใต้สำนึกมาใช้ ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว





                                 พลังแห่งการหยั่งรู้ Intuitive Power

เราต้องการอะไรมากที่สุดในชีวิต คำตอบก็คือ “ต้องการความสุขและความสำเร็จในชีวิต”
เชาวน์อารมณ์ (EQ) ซึ่งจะตรงกับคำว่า “ปัญญา” และ “ศรัทธา”
ในทางพุทธศาสนาจึงหมายถึง ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของบุคคล
ที่ตระหนักถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น
สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายใน ตลอดจนสามารถ รอคอย การตอบสนอง
ความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ สามารถให้กำลังใจตนเอง
ในการที่จะเผชิญ ข้อขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างไม่คับข้องใจ รู้จักขจัดความเครียด
ที่จะขัดขวางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อันมีค่าของตนเองได้ สามารถทำงานกับผู้อื่น
ทั้งในฐานะผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างมีความสุข จนประสบความสำเร็จในการเรียน ความสำเร็จในอาชีพ
ตลอดจนประสบความสำเร็จในชีวิต

องค์ประกอบของเชาวน์อารมณ์ (EQ)

สติ (รู้ว่าอะไรเป็นอะไร)
ปัญญา (การค้นหาทางสำเร็จและเหตุปัจจัย)
ศรัทธา (ความเชื่อในเรื่องกรรมดี)
สมาธิ (ไม่วอกแวกไปกับความโกรธ ความคับข้องใจ ความรู้สึกจากแรงกดดัน)
การปล่อยวาง (การขจัดความเครียด)
อริยสัจสี่ (การหาเหตุเพื่อแก้ปัญหาและดับปัญหาหรือดับทุกข์)
สังคหวัตถุ (การทำงานร่วมกับผู้อื่น)

อิทธิบาทสี่ (การสร้างความสำเร็จในงานที่ตัวเอง)

1. การรู้อารมณ์คน (Knowing One Emotion) หมายถึง ตระหนักรู้ตนเอง
สามารถรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง
และสามารถควบคุมความรู้สึกได้
รู้อารมณ์คน : การพิจารณาตนเอง และตัณหา (ความอยาก) การใช้ปัญญาไตร่ตรองทุกสิ่งที่เข้ามากระทบ
2. การควบคุมอารมณ์ (Managing Emotion) หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด สามารถคลายเครียด สลัดความวิตกจริตรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ฉุนเฉียวง่าย
ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวหายไปโดยเร็ว
การควบคุมอารมณ์ : การวางอุเบกขา อนุสสติ 10 การละโลภ โกรธ หลง (กิเลส)
3. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Recognizing Emotion in Other หรือ Empathy) หมายถึง การรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
การฝึกสมาธิ พรหมวิหาร 4 สันโดษ
4. การให้กำลังใจตนเองได้ (Motivation Oneself) หมายถึง สามารถจูงใจตนเอง
ควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถรอคอยการสนองตอบความต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า มองโลกในแง่ดี สามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา : ศีล เมตตา ทาน
5. การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี (Handling Relationship) หมายถึง สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี : สังคหวัตถุ 4 สัปปุริสธรรม 7 ทิศ 6


พลังแห่งการหยั่งรู้ พลังแห่งการหยั่งรู้ (Intuitive Power) เป็นแนวคิดใหม่ ที่อิง "จิตวิญญาณ คือ ต้นตอแห่งการเปลี่ยนแปลง"

ในวงการบริหารการพัฒนาผู้นำและการนำยุคใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจอย่างฉับพลัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของ “ตัวแปร” จำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ความนิยม เป็นต้น ซึ่งเป็นเนื้อแก่นของสังคมข้อมูลข่าวสาร ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงในระดับ “คุณภาพ” ใหม่เช่นนี้ จะใช้การตัดสินใจแบบเดิมๆ ที่อาศัยตรรกะและการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ที่เป็นสูตรตายตัว ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันการณ์ได้ แนวคิดหรือเครื่องมือใหม่ที่จะต่อสู้ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้”
ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับเชาวน์อารมณ์ (EQ) และการปฏิบัติสมาธิภาวนา เชาวน์ปัญญา (IQ) คือ กุญแจไขไปสู่ความสำเร็จ โดยเปิดทางให้กับสมองซีกซ้ายเต็มที่ เนื่องจากปัญหารอบกายนั้นส่วนใหญ่จะวนเวียนกับเรื่องกายวัตถุ ต้องชั่ง ตวง วัด และคำนวณเป็นสรณะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ “จับต้องไม่ได้” นั้น ถูกละเลยไป การใช้เชาวน์อารมณ์จึงกลายเป็นเรื่องส่วนเกิน ไม่มีความจำเป็น และเป็นเรื่องหยุมหยิม ของสตรีเพศ กระบวนทัศน์เก่าเรื่องเชาวน์ปัญญา จึงพบทางตัน เชาวน์อารมณ์ (EQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นทุกที ในการจัดการปัญหาในแทบทุกด้านและวงการ เปิดสมองซีกขวาให้ทำงาน หัวใจของเชาวน์อารมณ์ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้” นั่นเอง ที่แสดงออกมาในรูปของความรู้สึกลึกซึ้งจากภายในกาย มีการประเมินกันว่า ความสำเร็จในชีวิต ของคนยุคใหม่ ต้องอาศัยเชาวน์อารมณ์ถึง 80 % ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรธุรกิจแขนงต่างๆ ที่ตระหนักถึงความจริงแท้ในเรื่องนี้ ต่างปรับกระบวนทัศน์ของตน จนเกิดกระแสกระบวนการ “รีเอนจิเนียริ่ง” อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ การเปรียบเทียบเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ ดังแสดงในตาราง

เชาวน์ปัญญา (EQ)กระบวนทัศน์เก่า เชาวน์อารมณ์ (EQ)กระบวนทัศน์ใหม่

วิธีการ
1. มุ่งไปที่กายวัตถุ
2. มุ่งไปที่นอกกาย
3. มุ่งด้านหยาบ
4. มุ่งความสำเร็จที่ผู้ชนะผล * หักหาญเอาชนะฝ่ายตรงข้ามหรือคู่แข่ง แย่งกันไปตาย
เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจ การทำลายล้าง สงครามแย่งชิง

วิธีการ
1. มุ่งไปที่จิตวิญญาณ
2. มุ่งสู่ในกาย
3. มุ่งด้านละเอียด
4. มุ่งความสำเร็จจากการร่วมมือกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผล * ความสร้างสรรค์ การถนอมรัก การเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังคมสงบ
เศรษฐกิจพอเพียง พลังแห่งการหยั่งรู้ เกี่ยวโยงกับการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อทำให้เจ้าตัว มีจิตใจที่สงบนิ่ง เยือกเย็น อารมณ์ใสเสมอ ทำให้ข้อมูลของตัวแปรรอบด้านจะถูกดูดเข้าหาตัวเองสู่ “องค์รู้” ภายในได้อย่างสมบูรณ์ สะอาด ไม่เอียงเอน ปราศจากสิ่งขวางกั้น

พระพุทธเจ้าได้ใช้ฌานจากสมาธิภาวนา จนเกิดพลังแห่งการหยั่งรู้ แล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จิตใจที่ไร้ความสงบ อารมณ์ที่ขุ่นมัว เครียดขึ้ง เป็นตัวอุปสรรคขัดขวางมิให้ข้อมูลของตัวแปรนานาชนิดเข้าถึงองค์รู้ภายในนั่นเอง ทำให้พลังแห่งการหยั่งรู้ไม่เกิดขึ้น
5. แนวทางปฏิบัติในการใช้พลังแห่งการหยั่งรู้ ในความเป็นจริงแล้ว เชาวน์ปัญญา ไม่ใช่ของเสียหาย แต่ควรใช้เชาวน์อารมณ์นำ เพื่อวางทิศทาง แล้วใช้เชาวน์ปัญญาเดินตามกรอบของเชาวน์อารมณ์ ผู้บริหารควรหมั่นฝึกสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตสงบ ปล่อยวาง ตัดอารมณ์ที่ขุ่นมัวออกไป ขั้นตอนนี้เป็นแค่การฝึกจิตในขณะหลับตา
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ช่วงลืมตาในขณะปฏิบัติงานก็ต้องฝึกสติและสมาธิ ให้เหมือนกับตอนหลับตา มิเช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เฉกเช่นแผ่เมตตาตอนหลับตาภาวนาทุกวัน แต่ชีวิตประจำวันไม่ค่อยช่วยใคร เห็นแก่ตัวเป็นที่สุด แสดงว่าที่เตรียมตัวมาไร้ผลในเชิงปฏิบัติ การทำใจให้ว่าง สว่าง สะอาด สงบ ในขณะปฏิบัติงาน จะเป็นการเปิดช่องทางให้สมองซีกขวารับข่าวสารข้อมูลปัจจัยเหตุต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และไม่ลำเอียงข้อมูลที่เข้ากับแนวคิดตน (กาลามสูตร) ขณะปฏิบัติงานก็ต้องพิจารณาปัญหา จากตัวแปรข้อมูลต่างๆ

พยายามเต็มที่ที่จะเข้าถึงเหตุปัจจัยที่ส่งผลมาถึง ไม่เชื่อง่ายนัก ใช้กาลามสูตรไตร่ตรอง ใช้อริยสัจสี่แก้ปัญหา ใช้พลังการหยั่งรู้ในการตัดสินวางเป้าหมายที่จะทำงานให้สำเร็จโดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เอาใจเขามาใส่ใจเรา ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หาทางเลือกใหม่ ที่ไม่เบียดเบียนใคร แล้วพางานสำเร็จ สร้างสรรค์ให้ทีมงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง สงบ และมีความสุข จากการทำงานอยู่ตลอดเวลา การหาความรู้และข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอตามหลักพหูสูตร จัดให้พระสงฆ์มาเทศน์หรือบรรยายธรรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และชีวิตครอบครัวประจำวัน ส่งเสริมให้มีการทำบุญให้ทาน แต่อย่าเน้นเรื่องเงินมากนัก เพราะจะมุ่งไปสู่วัตถุนิยม ให้ทำบุญด้วยสิ่งอื่นที่ใช้เงินน้อย เช่น ธรรมทาน อภัยทาน การถือศีล การเจริญภาวนา
การทำแนวคิดให้ถูกต้อง เป็นต้น การใช้ปัญญาของตนเองศึกษางานหรืออาชีพตัวเอง ให้รู้จัก – รู้จริง – รู้แจ้ง

หากรู้แจ้งขึ้นมาแล้วจะเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นมา ทำให้สามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้ศักยภาพของตนเองที่ควรปลูกฝังและพัฒนาอยู่เสมอ มี 4 ประการ คือ

1. พลังจิต
2. พลังสมาธิ
3. พลังปัญญา หรือพลังความคิด
4. พลังความดี/ความรัก หรือทัศนคติทางบวก
ธรรมชาติของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ วิธีการสั่งจิตใต้สำนึก
ขั้นพื้นฐาน วิธีการสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่นในตนเอง อำนาจแห่งพลังจิตทางบวก การปลูกฝังอุปนิสัยที่ สำคัญลงสู่จิตใต้สำนึก
วิธีการพัฒนาพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creative) การพัฒนาทักษะการคิด วิจารณญาณ การบริหารเวลา
และการฝึกการกดจุดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพภาคทฤษฎี ประกอบด้วย

1.1 ธรรมชาติแห่งพลังจิตใต้สำนึก 12 ประการ
1.2 ศูนย์รวมแห่งพลังงานในร่างกาย
1.3 ราศึทางโหราศาสตร์กับตำแหน่งจักระในร่างกาย
1.4 เคล็ดลับโบราณเกี่ยวกับพลังจิต
1.5 การควบคุมดูแลธาตุต่างๆ ในร่างกาย
1.6 การบำบัด และดูแลสุขภาพโดยอาศัยจักระ และระบบธาตุในร่างกาย
1.7 วิธีการทดสอบพลังจิตรูปแบบต่างๆ
1.8 ทฤษฎีความจำ
1.9 ทฤษฎีเกี่ยวกับการสั่งจิตใต้สำนึก
1.10 ความหมายของการสะกดจิต ประโยชน์ และโทษที่เกิดจากการสะกดจิต
1.11 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย
2. ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
2.1 การฝึกสร้างศูนย์สมบูรณ์
2.2 การใช้พลัง Aura ผ่านจินตนาการเพื่อปรับสภาพจิตใต้สำนึก
2.3 ฝึกสมาธิ และฝึกให้จิตใจรวมตัว
2.4 ฝึกพลังแห่งสายตา
2.5 ฝึกบำบัดอาการป่วยด้วยพลังปราณ
2.6 ฝึกทดสอบสภาวะจิตรูปแบบต่าง ๆ
2.7 ฝึกการสะกดจิต และชักนำจิตรูปแบบต่าง ๆ
2.8 ฝึกความจำโดยใช้จินตนาการช่วยจำ
2.9 ฝึกวิธีการเชื่อมต่อกับจิตเหนือสำนึก เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3. ภาคทดสอบ
3.1 ทดสอบความเชื่อมั่น ทดสอบความจำ ต้องสามารถจำสิ่งของต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในความคิดได้
โดยเพียงแต่ได้ยิน หรือได้ฟังเพียงครั้งเดียว และสามารถบอกลำดับได้การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยกระบวนการพัฒนาจิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมีพลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จ มาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
3. การฝึกการคิดทางบวก
4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ
และที่สำคัญยิ่ง คือ การฝึกดึงเอาพลังจิตเหนือสำนึก (Super Conscious) ขึ้นมาทำงานใสถานการณ์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ และมีคุณค่า