ตารางประชุม ปี 2556

มิถุนายน  2556
 3        จ            สสจ           เปิดซองประมูลรถตู้ 12 ที่นั่ง

พฤษภาคม 2556
1        พ            กทม             ตัวแทนผอรพช ประชุม P4P
                                               ร่วมกับ รมต ปลัด
2-3     พฤ ศ     จ เลย            ประชุม ผอ
 


16       พฤ         สสจ              ประชุมแพทย์แผนไทย
20       จ             ขอนแก่น      ประชุมชี้แจง P4P  จาก กระทรวง
22-23  พ พฤ    สสจ ระยอง  วิทยากร บรรยาย ให้ จนท ใหม่ 
31       ศ            สสจ              ประชุมประจำเดือน  กวป
           ศ            รพ แพทย์แผนไทย
           วิทยากร บรรยาย การใช้สมุนไพรแก่แพทย์แผนไทย
                                                จ สกลนคร

เมษายน 2556
4          พฤ           สสจ             รับผู้ตรวจราชการเขต 8
19        ศ              สสจ              วิทยากร บรรยาย การใช้สมุนไพร
                                                   แก่ แพทย์แผนไทยจ สกลนคร

19        ศ              รพ สว่างแดน    วิทยากร บรรยาย การใช้
                                                        สมุนไพรแก่ แพทย์ เภสัช จบ
                                                        ใหม่ 
30       อ      บ       รพ เจริญศิลป์  ประชุม กวป ประจำเดือน


มีนาคม 2556
5-6       อ-พ            จ อุดรธานี ประชุม การบริหารการเงิน
                                                   โรงพยาบาลชุมชน

8           ศ                สสจ        ประชุมจัดสรรแพทย์ 56
11         จ                ขก           ประชุม ค่าตอบแทนเหมาจ่าย
                                                   ฉบับ 4  6

18         จ                สสจ         รับรัฐมนตรี
19          อ   บ         สสจ         กรรมการ c8  หัวหน้าฝ่ายการ  
                                                     พยาบาล
22         ศ                                 ลาพักร้อน
26         อ                สสจ         วิทยากร บรรยาย การใช้สมุนไพร
                                                 แก่ แพทย์ใช้ทุน จ สกลนคร
29        ศ                 สสจ         ประชุมผู้บริหาร


กุมภาพัน 2556
7          พฤ                 สสจ รับรัฐมนตรี

21        พฤ                 สสจ  ประธานคัดเลือกข้าราชการ
26-27   อ-พ                ลาพักร้อน
28        พฤ                 รพ โพนนาแก้ว  ประชุมประจำเดือน กวป

มกราคม 2556
3           พฤ       ช      สสจ ประชุม UC
7            จ          บ      สสจ ประชุม ย้ายแพทย์ ทันตะ เภสัช
14-16    จ-พ               สสจ ระยอง วิทยากร การพัฒนา UC 56
17-18    พฤ-ศ   บ      รพ สว่าง วิทยากรแพทย์แผนไทย
21-23    จ-พ      บ      รพ สว่าง วิทยากรแพทย์แผนไทย
24-25     พฤ-ศ           กทม ประชุมแพทย์ชนบท
31          พ         บ       สสจ ประชุม กวป ประจำเดือน

การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ2556

ยาสมุนไพร สสจ. สกลนคร  2556   นพ โกมล ภู่ถาวรทรัพย์  
         
1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม)
ยาหอมนวโกฐ   . แก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ
                                 . แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน

                                    เบื่ออาหาร ท้องอืด และอ่อนเพลีย)
   .5-1  ช้อนชา   ทุก 3 ชม  น้ำสุก

ยาหอมอินทจักร์  . แก้ลมบาดทะจิต  . แก้คลื่นเหียนอาเจียน    . แก้ลมจุกเสียด

    .5-1  ช้อนชา   ทุก 3 ชม  น้ำสุก

2. ยาแก้ไข้
ยาเขียวหอม . บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ

                           . แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและอีสุกอีใส)

    .5-1  ช้อนชา   ทุก 4-6  ชม  น้ำสุก

ยาจันทน์ลีลา บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

     เด็ก .5-1 เม็ด  ผู้ใหญ่  1-2 เม็ด   ทุก 4 ชม

ยาห้าราก บรรเทาอาการไข้

   2-4 แคปซูล   3  ครั้ง    ก่อนอาหาร

3. ยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน
ยารางจืด         1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

4. ยารักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ
ยาฟ้าทะลายโจร . บรรเทาอาการเจ็บคอ
      ๒.บรรเทาอาการของโรคหวัด เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ           

      2-4 แคปซูล  4 ครั้ง

5. ยาบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

       2 ชช  3-4 ครั้ง

ยาตรีผลา บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ   
       1-2 แคปซูล 3 ครั้ง

ยาประสะมะแว้ง บรรเทาอาการไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะ

       3-5 เม็ด เวลาไอ

ยาอำมฤควาที บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ

      1 ชช  จิบ กวาดคอ  

6. ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ยากล้วย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร        

        1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

7. กลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
ยาธาตุบรรจบ  บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

      2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาธาตุอบเชย  ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

ยาขมิ้นชัน บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ

       2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาขิง . บรรเทาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด

           . ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ

            . ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด

       4 แคปซูล  3 ครั้ง

       2 ซอง  3 ครั้ง   ขับน้ำนม

8. กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องผูก
ยาธรณีสันฑะฆาต   แก้เถาดาน ท้องผูก

       1-2 แคปซูล ก่อนนอน

ยาชุมเห็ดเทศ บรรเทาอาการท้องผูก

9. กลุ่มยาบรรเทาอาการท้องเสีย
ยากล้วย
        บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อเช่นอุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน

1ซอง250ซีซี 3 ครั้ง
 
ยาธาตุบรรจบ  บรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น
                         อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้

        2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาเหลืองปิดสมุทร บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็น
                      มูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้  

        ผู้ใหญ่  10 เม็ด    ทุก 3-5  ชม

         เด็ก  3-5 เดือน  2 เม็ด  เด็ก  6-12 เดือน  3-4 เม็ด เด็ก  1-5 ปี  5-7 เม็ด     เด็ก  6-12 ปี  8-10 เม็ด    

ยาฟ้าทะลายโจร
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน
       2-4 แคปซูล 4 ครั้ง
     
10. กลุ่มยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก
ยาผสมเพชรสังฆาต        
         2 แคปซูล  2 ครั้ง

11. ยารักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ยาผสมโคคลาน บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

      ชนิดต้ม นำตัวยาทั้งหมดมาเติมให้น้ำให้ท่วมตัวยา ต้มน้ำเคี่ยว สามส่วนเหลือหนึ่งส่วน

        ดื่มครั้งละ ๑๒๐ - ๒๐๐ มิลลิลิตร วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร

ยาผสมเถาวัลย์เปรียง บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

      1 -2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาสหัศธารา ขับลมในเส้น แก้โรคลมกองหยาบ

    2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาเถาวัลย์เปรียง บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

     1 -2 แคปซูล  3 ครั้ง

ยาพริก บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ (musculoskeletal pain)

ยาไพล บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ยาน้ำมันไพล บรรเทาอาการบวม ฟกช้ำ เคล็ดยอก

ยาประคบ ประคบเพื่อลดอาการปวด และ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เอ็น และ ข้อ กระตุ้นหรือเพิ่ม

                     การไหลเวียนของโลหิต

12. ยารักษากลุ่มอาการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ยาประสะไพล   . ระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ

                                . บรรเทาอาการปวดประจำเดือน   . ขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร

      2-3 แคปซูล 3 ครั้ง

ยาไฟประลัยกัลป์  ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

   2 ชช  3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ว่านชักมดลูก      ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

     2 แคปซูล  3 ครั้ง  ก่อนอาหาร

13. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ
ยาหญ้าหนวดแมว แก้ขัดเบา ชะล้างทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ ขับนิ่วขนาดเล็ก

     1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

ยากระเจี๊ยบแดง ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

     1 ซอง  250ซีซี   3 ครั้ง

14. ยารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา น้ำกัดเท้า

    ทา 1-4 ครั้ง

15. ยารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเริมและงูสวัด
ยาพญายอ  . ยาครีม 2 ทิงเจอร์ บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด         
    ทา 3-4 ครั้ง                        

16. ยาบำรุงธาตุ ปรับธาตุ
ยาเบญจกูล บำรุงธาตุ แก้ธาตุให้ปกติ       
     2-3 แคปซูล  3 ครั้ง

17. ยาบำรุงโลหิต
ยาบำรุงโลหิต                
      1ชช   2  ครั้ง  ก่อนอาหาร

ตารางประชุม ปี 2556

กุมภาพัน 2556
7           พฤ        สสจ   รับรัฐมนตรี
8           ศ           สสจ   รับรัฐมนตรี
 
มกราคม 2556
3            พฤ      ช    สสจ               ประชุม UC 
7            จ          บ    สสจ               ประชุม ย้ายแพทย์ ทันตะ
                                                                     เภสัช        
14-16     จ-พ            สสจ ระยอง  วิทยากร การพัฒนา UC 56
17-18     พฤ-ศ   บ   รพ สว่าง       วิทยากรแพทย์แผนไทย
21-23     จ-พ      บ   รพ สว่าง       วิทยากรแพทย์แผนไทย
24-25     พฤ-ศ         กทม              ประชุมแพทย์ชนบท
31          พ          บ   สสจ               ประชุม กวป ประจำเดือน

พลังจิตใต้สำนึก

                                                    พลังจิตใต้สำนึก




                         


จิตสำนึก (Conscious mind) เป็นจิตปกติธรรมดาของคนเราในขณะตื่นอยู่ มีความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น ไม่อยู่นิ่ง มีความเป็นอิสระในการคิด และเลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ชอบและ สนใจ จิตสำนึกอาศัยสมองเป็นเครื่องมือทำการแยกแยะเหตุผล แสดงออกถึงความสงสัย การคาดคะเน การคิดคำนวณ หรือการยอมรับเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่ไม่สนใจก็ตัดออก แต่ถ้ามีสิ่งสนใจ จะส่งผ่านไปยังจิตใต้สำนึกให้จดจำเก็บเอาไว้

จิตใต้สำนึก (Subconscious mind) อยู่ลึกกว่าจิตสำนึก แต่อาจจะแสดงออกมาชัดเจนในบางครั้ง เป็นจิตที่ว่างจากอารมณ์และความคิด ช่วงที่กำลังเข้าสู่ภวังค์ เช่น กำลังเคลิ้มหรือครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือเข้าสู่สมาธิ

จิตใต้สำนึกมีอำนาจสร้างสรรค์ ส่วนจิตสำนึกไม่มีอำนาจการสร้างสรรค์ มีหน้าที่เพียงส่งความคิดเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประทับใจ ผ่านไปให้จิตใต้สำนึกเท่านั้น หากจิตสำนึกมิได้พิจารณาเหตุผลหาข้อมูลที่ถูกต้อง จิตใต้สำนึกก็ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง อำนาจการสร้างสรรค์ก็พลอยผิดพลาดไปด้วย

อย่างไรก็ดี จิตใต้สำนึกมีอิสระ ไม่ต้องอาศัยสมองเป็นเครื่องมือทำให้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างจิตและสมอง เราสามารถอาศัยช่องว่างนี้เป็นพื้นฐานทำให้สามารถกำหนดสติให้จิตตั้งมั่นจดจ่อที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นจุดเดียว คือการทำสมาธิซึ่งสามารถเป็นปัจจัยนำไปสู่การค้นพบ ตลอดจนการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างน่าทึ่ง

โดยปกติ คนเราส่วนใหญ่จะใช้จิตสำนึกในการดำเนินชีวิต มีน้อยคนที่จะรู้จัก และนำพลังจิตใต้สำนึกมาใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับคนที่นำพลังจิตใต้สำนึกมาใช้ ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัว





                                 พลังแห่งการหยั่งรู้ Intuitive Power

เราต้องการอะไรมากที่สุดในชีวิต คำตอบก็คือ “ต้องการความสุขและความสำเร็จในชีวิต”
เชาวน์อารมณ์ (EQ) ซึ่งจะตรงกับคำว่า “ปัญญา” และ “ศรัทธา”
ในทางพุทธศาสนาจึงหมายถึง ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของบุคคล
ที่ตระหนักถึงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเอง และผู้อื่น
สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายใน ตลอดจนสามารถ รอคอย การตอบสนอง
ความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ สามารถให้กำลังใจตนเอง
ในการที่จะเผชิญ ข้อขัดแย้งต่างๆ ได้อย่างไม่คับข้องใจ รู้จักขจัดความเครียด
ที่จะขัดขวางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อันมีค่าของตนเองได้ สามารถทำงานกับผู้อื่น
ทั้งในฐานะผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างมีความสุข จนประสบความสำเร็จในการเรียน ความสำเร็จในอาชีพ
ตลอดจนประสบความสำเร็จในชีวิต

องค์ประกอบของเชาวน์อารมณ์ (EQ)

สติ (รู้ว่าอะไรเป็นอะไร)
ปัญญา (การค้นหาทางสำเร็จและเหตุปัจจัย)
ศรัทธา (ความเชื่อในเรื่องกรรมดี)
สมาธิ (ไม่วอกแวกไปกับความโกรธ ความคับข้องใจ ความรู้สึกจากแรงกดดัน)
การปล่อยวาง (การขจัดความเครียด)
อริยสัจสี่ (การหาเหตุเพื่อแก้ปัญหาและดับปัญหาหรือดับทุกข์)
สังคหวัตถุ (การทำงานร่วมกับผู้อื่น)

อิทธิบาทสี่ (การสร้างความสำเร็จในงานที่ตัวเอง)

1. การรู้อารมณ์คน (Knowing One Emotion) หมายถึง ตระหนักรู้ตนเอง
สามารถรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง
และสามารถควบคุมความรู้สึกได้
รู้อารมณ์คน : การพิจารณาตนเอง และตัณหา (ความอยาก) การใช้ปัญญาไตร่ตรองทุกสิ่งที่เข้ามากระทบ
2. การควบคุมอารมณ์ (Managing Emotion) หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด สามารถคลายเครียด สลัดความวิตกจริตรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ฉุนเฉียวง่าย
ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวหายไปโดยเร็ว
การควบคุมอารมณ์ : การวางอุเบกขา อนุสสติ 10 การละโลภ โกรธ หลง (กิเลส)
3. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Recognizing Emotion in Other หรือ Empathy) หมายถึง การรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
การฝึกสมาธิ พรหมวิหาร 4 สันโดษ
4. การให้กำลังใจตนเองได้ (Motivation Oneself) หมายถึง สามารถจูงใจตนเอง
ควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถรอคอยการสนองตอบความต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า มองโลกในแง่ดี สามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา : ศีล เมตตา ทาน
5. การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี (Handling Relationship) หมายถึง สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี การมีมนุษย์สัมพันธ์ดี : สังคหวัตถุ 4 สัปปุริสธรรม 7 ทิศ 6


พลังแห่งการหยั่งรู้ พลังแห่งการหยั่งรู้ (Intuitive Power) เป็นแนวคิดใหม่ ที่อิง "จิตวิญญาณ คือ ต้นตอแห่งการเปลี่ยนแปลง"

ในวงการบริหารการพัฒนาผู้นำและการนำยุคใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจอย่างฉับพลัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วของ “ตัวแปร” จำนวนมาก ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ความนิยม เป็นต้น ซึ่งเป็นเนื้อแก่นของสังคมข้อมูลข่าวสาร ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงในระดับ “คุณภาพ” ใหม่เช่นนี้ จะใช้การตัดสินใจแบบเดิมๆ ที่อาศัยตรรกะและการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ที่เป็นสูตรตายตัว ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันการณ์ได้ แนวคิดหรือเครื่องมือใหม่ที่จะต่อสู้ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้”
ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับเชาวน์อารมณ์ (EQ) และการปฏิบัติสมาธิภาวนา เชาวน์ปัญญา (IQ) คือ กุญแจไขไปสู่ความสำเร็จ โดยเปิดทางให้กับสมองซีกซ้ายเต็มที่ เนื่องจากปัญหารอบกายนั้นส่วนใหญ่จะวนเวียนกับเรื่องกายวัตถุ ต้องชั่ง ตวง วัด และคำนวณเป็นสรณะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ “จับต้องไม่ได้” นั้น ถูกละเลยไป การใช้เชาวน์อารมณ์จึงกลายเป็นเรื่องส่วนเกิน ไม่มีความจำเป็น และเป็นเรื่องหยุมหยิม ของสตรีเพศ กระบวนทัศน์เก่าเรื่องเชาวน์ปัญญา จึงพบทางตัน เชาวน์อารมณ์ (EQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นทุกที ในการจัดการปัญหาในแทบทุกด้านและวงการ เปิดสมองซีกขวาให้ทำงาน หัวใจของเชาวน์อารมณ์ ก็คือ “พลังแห่งการหยั่งรู้” นั่นเอง ที่แสดงออกมาในรูปของความรู้สึกลึกซึ้งจากภายในกาย มีการประเมินกันว่า ความสำเร็จในชีวิต ของคนยุคใหม่ ต้องอาศัยเชาวน์อารมณ์ถึง 80 % ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรธุรกิจแขนงต่างๆ ที่ตระหนักถึงความจริงแท้ในเรื่องนี้ ต่างปรับกระบวนทัศน์ของตน จนเกิดกระแสกระบวนการ “รีเอนจิเนียริ่ง” อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ การเปรียบเทียบเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ ดังแสดงในตาราง

เชาวน์ปัญญา (EQ)กระบวนทัศน์เก่า เชาวน์อารมณ์ (EQ)กระบวนทัศน์ใหม่

วิธีการ
1. มุ่งไปที่กายวัตถุ
2. มุ่งไปที่นอกกาย
3. มุ่งด้านหยาบ
4. มุ่งความสำเร็จที่ผู้ชนะผล * หักหาญเอาชนะฝ่ายตรงข้ามหรือคู่แข่ง แย่งกันไปตาย
เช่น กรณีวิกฤตเศรษฐกิจ การทำลายล้าง สงครามแย่งชิง

วิธีการ
1. มุ่งไปที่จิตวิญญาณ
2. มุ่งสู่ในกาย
3. มุ่งด้านละเอียด
4. มุ่งความสำเร็จจากการร่วมมือกัน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผล * ความสร้างสรรค์ การถนอมรัก การเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังคมสงบ
เศรษฐกิจพอเพียง พลังแห่งการหยั่งรู้ เกี่ยวโยงกับการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพื่อทำให้เจ้าตัว มีจิตใจที่สงบนิ่ง เยือกเย็น อารมณ์ใสเสมอ ทำให้ข้อมูลของตัวแปรรอบด้านจะถูกดูดเข้าหาตัวเองสู่ “องค์รู้” ภายในได้อย่างสมบูรณ์ สะอาด ไม่เอียงเอน ปราศจากสิ่งขวางกั้น

พระพุทธเจ้าได้ใช้ฌานจากสมาธิภาวนา จนเกิดพลังแห่งการหยั่งรู้ แล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จิตใจที่ไร้ความสงบ อารมณ์ที่ขุ่นมัว เครียดขึ้ง เป็นตัวอุปสรรคขัดขวางมิให้ข้อมูลของตัวแปรนานาชนิดเข้าถึงองค์รู้ภายในนั่นเอง ทำให้พลังแห่งการหยั่งรู้ไม่เกิดขึ้น
5. แนวทางปฏิบัติในการใช้พลังแห่งการหยั่งรู้ ในความเป็นจริงแล้ว เชาวน์ปัญญา ไม่ใช่ของเสียหาย แต่ควรใช้เชาวน์อารมณ์นำ เพื่อวางทิศทาง แล้วใช้เชาวน์ปัญญาเดินตามกรอบของเชาวน์อารมณ์ ผู้บริหารควรหมั่นฝึกสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตสงบ ปล่อยวาง ตัดอารมณ์ที่ขุ่นมัวออกไป ขั้นตอนนี้เป็นแค่การฝึกจิตในขณะหลับตา
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ช่วงลืมตาในขณะปฏิบัติงานก็ต้องฝึกสติและสมาธิ ให้เหมือนกับตอนหลับตา มิเช่นนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เฉกเช่นแผ่เมตตาตอนหลับตาภาวนาทุกวัน แต่ชีวิตประจำวันไม่ค่อยช่วยใคร เห็นแก่ตัวเป็นที่สุด แสดงว่าที่เตรียมตัวมาไร้ผลในเชิงปฏิบัติ การทำใจให้ว่าง สว่าง สะอาด สงบ ในขณะปฏิบัติงาน จะเป็นการเปิดช่องทางให้สมองซีกขวารับข่าวสารข้อมูลปัจจัยเหตุต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และไม่ลำเอียงข้อมูลที่เข้ากับแนวคิดตน (กาลามสูตร) ขณะปฏิบัติงานก็ต้องพิจารณาปัญหา จากตัวแปรข้อมูลต่างๆ

พยายามเต็มที่ที่จะเข้าถึงเหตุปัจจัยที่ส่งผลมาถึง ไม่เชื่อง่ายนัก ใช้กาลามสูตรไตร่ตรอง ใช้อริยสัจสี่แก้ปัญหา ใช้พลังการหยั่งรู้ในการตัดสินวางเป้าหมายที่จะทำงานให้สำเร็จโดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เอาใจเขามาใส่ใจเรา ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หาทางเลือกใหม่ ที่ไม่เบียดเบียนใคร แล้วพางานสำเร็จ สร้างสรรค์ให้ทีมงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง สงบ และมีความสุข จากการทำงานอยู่ตลอดเวลา การหาความรู้และข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอตามหลักพหูสูตร จัดให้พระสงฆ์มาเทศน์หรือบรรยายธรรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และชีวิตครอบครัวประจำวัน ส่งเสริมให้มีการทำบุญให้ทาน แต่อย่าเน้นเรื่องเงินมากนัก เพราะจะมุ่งไปสู่วัตถุนิยม ให้ทำบุญด้วยสิ่งอื่นที่ใช้เงินน้อย เช่น ธรรมทาน อภัยทาน การถือศีล การเจริญภาวนา
การทำแนวคิดให้ถูกต้อง เป็นต้น การใช้ปัญญาของตนเองศึกษางานหรืออาชีพตัวเอง ให้รู้จัก – รู้จริง – รู้แจ้ง

หากรู้แจ้งขึ้นมาแล้วจะเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นมา ทำให้สามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้ศักยภาพของตนเองที่ควรปลูกฝังและพัฒนาอยู่เสมอ มี 4 ประการ คือ

1. พลังจิต
2. พลังสมาธิ
3. พลังปัญญา หรือพลังความคิด
4. พลังความดี/ความรัก หรือทัศนคติทางบวก
ธรรมชาติของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ วิธีการสั่งจิตใต้สำนึก
ขั้นพื้นฐาน วิธีการสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่นในตนเอง อำนาจแห่งพลังจิตทางบวก การปลูกฝังอุปนิสัยที่ สำคัญลงสู่จิตใต้สำนึก
วิธีการพัฒนาพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creative) การพัฒนาทักษะการคิด วิจารณญาณ การบริหารเวลา
และการฝึกการกดจุดเพื่อเสริมสร้างสุขภาพภาคทฤษฎี ประกอบด้วย

1.1 ธรรมชาติแห่งพลังจิตใต้สำนึก 12 ประการ
1.2 ศูนย์รวมแห่งพลังงานในร่างกาย
1.3 ราศึทางโหราศาสตร์กับตำแหน่งจักระในร่างกาย
1.4 เคล็ดลับโบราณเกี่ยวกับพลังจิต
1.5 การควบคุมดูแลธาตุต่างๆ ในร่างกาย
1.6 การบำบัด และดูแลสุขภาพโดยอาศัยจักระ และระบบธาตุในร่างกาย
1.7 วิธีการทดสอบพลังจิตรูปแบบต่างๆ
1.8 ทฤษฎีความจำ
1.9 ทฤษฎีเกี่ยวกับการสั่งจิตใต้สำนึก
1.10 ความหมายของการสะกดจิต ประโยชน์ และโทษที่เกิดจากการสะกดจิต
1.11 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย
2. ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย
2.1 การฝึกสร้างศูนย์สมบูรณ์
2.2 การใช้พลัง Aura ผ่านจินตนาการเพื่อปรับสภาพจิตใต้สำนึก
2.3 ฝึกสมาธิ และฝึกให้จิตใจรวมตัว
2.4 ฝึกพลังแห่งสายตา
2.5 ฝึกบำบัดอาการป่วยด้วยพลังปราณ
2.6 ฝึกทดสอบสภาวะจิตรูปแบบต่าง ๆ
2.7 ฝึกการสะกดจิต และชักนำจิตรูปแบบต่าง ๆ
2.8 ฝึกความจำโดยใช้จินตนาการช่วยจำ
2.9 ฝึกวิธีการเชื่อมต่อกับจิตเหนือสำนึก เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
3. ภาคทดสอบ
3.1 ทดสอบความเชื่อมั่น ทดสอบความจำ ต้องสามารถจำสิ่งของต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในความคิดได้
โดยเพียงแต่ได้ยิน หรือได้ฟังเพียงครั้งเดียว และสามารถบอกลำดับได้การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยกระบวนการพัฒนาจิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมีพลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จ มาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
3. การฝึกการคิดทางบวก
4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ
และที่สำคัญยิ่ง คือ การฝึกดึงเอาพลังจิตเหนือสำนึก (Super Conscious) ขึ้นมาทำงานใสถานการณ์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ และมีคุณค่า