มกราคม 2556
14-16 จ-พ สสจ ระยอง วิทยากร การพัฒนางบ UC 56
17-18 พฤ-ศ รพ สว่าง วิทยากรแพทย์แผนไทย
21-23 จ-พ รพ สว่าง วิทยากรแพทย์แผนไทย
24-25 พฤ-ศ กทม ประชุมแพทย์ชนบท
31 พ สสจ ประชุม กวป ประจำเดือน
ธันวาคม 2555
24 จ บ สสจ ประชุมงานแพทย์แผนไทย
25 อ สสจ ประชุมรับรองแผน 56
27 พฤ สสจ ประชุม กรรมการมาตรา 41
28 ศ สสจ ประชุม ประจำเดือน กวป
ร่วมงานปีใหม่ สสจ
พฤษจิกายน 2555
6 อ รพ สว่าง รับ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย
13 พ บ สสจ ประชุม UC 56
16 ศ ช รพ แพทย์แผนไทย ประชุมเปิด รพ
19-21 จ-พ ระยอง ประชุม
28 พ สสจ ประชุมงานแพทย์แผนไทย
30 ศ สสจ ประชุม ประจำเดือน
ตุลาคม 2555
3 พ บ สสจ ประชุมกรรมการมาตร41
5 ศ กทม ประชุมสป
9 อ สสจ ประชุมกรรมการแพทย์แผนไทย
11-12 พฤ-ศ กทม ตัวแทนจังหวัดประชุม UC 56
15-19 จ-ศ ลาพักร้อน
25 พฤ สสจ ประชุม UC 56
29 จ บ สสจ ประชุมประจำเดือน กวป
31 พ สสจ กฐิน
สสจ ประชุม HAS
กันยายน 2555
10-12 จ -พ กทม ประชุม กทม
21 ศ ช รพ สว่าง บรรยาย พยาบาล NP
25 อ สสจ ประธานเปิดซองการจัดซื้อยาสมุนไพร
28 ศ บ สสจ ประชุมประจำเดือน กวป
สิงหาคม 2555
6 จ ประชุม จิตเวช จ.อุดร
7 อ ประชุม จริยธรรม จ.นครพนม
8 พ ลาพักร้อน
14 อ สสจ ประชุมงานแพทย์แผนไทย
22-24 พ-ศ กทม
31 ศ บ สสจ ประชุมประจำเดือน กวป
กรกฎาคม 2555
3 อ สสจ ประชุมประจำเดิอน
4-6 พฤ-ศ ลาพักร้อน
9-10 จ-อ สสจ วิทยากรสอน
17-19 อ-พฤ จ.อุบล ประชุม
25 พ สสจ ประชุม
26-27 พฤ-ศ ลาพักผ่อน
30 บ จ สสจ ประชุม กวป
31 อ สสจ ประชุม HA
มิถุนายน 2555
1 ศ ช-บ สสจ ประชุม
5-8 อ-ศ กทม กระทรวงสาสุข
11 จ บ สสจ วิทยากรแพทย์ทางเลือก
12 อ บ สสจ ประชุม
13-15 พ-พฤ กทม ประชุม
20 พ ช วิทยากรค่ายยาเสพติด
22 ศ บ สสจ สรุปผลการตรวจราชการ เขต 11
25 จ ประชุม จ นครพนม
28 พฤ ประชุม สสจ
พฤษภาคม 2555
14 จ สสจ ประชุม
25 ศ สสจ ประชุม
29 อ บ สสจ ประชุม
30 พ บ สสจ ประชุม
31 พฤ บ สสจ ประชุมประจำเดือน
เมษายน 2555
3 อ สสจ วิทยากรแพทย์ทางเลือก
10-11 อ-พ รพ พังโคน HA SPA
18 พ บ สสจ ประชุม
27 ศ ช บ สสจ รับนโยบาย รัฐมนตรีๆ สาสุข
รับแพทย์ใช้ทุน 55
30 จ สสจ ประชุมประจำเดือน
มีนาคม 2555
12-16 กทม ประชุม HA
20-22 สสจ วิทยากรแพทย์ทางเลือก
30 ศ บ สสจ ประชุมประจำเดือน
กุมภาพันธ์ 2555
24 ศ ชบ ประชุม สสจ
29 พ บ ประชุมประจำเดือน สสจ
มกราคม 2555
พฤ12 ประชุม จ.อุดร
จ16-พ19 ลาพักผ่อน
อ24-พฤ26 ประชุม สสจ กทม
อ31 บ ประชุม สสจ
จริต 6
จริต 6
จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น ในบุคคลเดียวอาจไม่ได้มีจริตเดียว เป็นจริตผสม แต่จะมีจริตที่เด่นที่สุด จงพิจารณาเองเถิด ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้ วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน จริตของมนุษย์แต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน และแต่ละบุคคลก็อาจมีจริตได้หลายอย่างคลุกเคล้าปะปนกันมา แต่ว่าจริตใดจะมีมากออกหน้า เป็นประธาน เป็นประจำ เป็นตัวนำ เป็นเด่นกว่าจริตอื่น ก็เรียกว่าเป็นผู้มีจริตนั้น |
.ลักษณะของผู้ที่หนักในราคจริต
|
๑. มายา เจ้าเล่ห์
๒. โอ้อวด ๓. ถือตัว ๔. ทำตัวลวงโลก หลอกลวง เสแสร้ง ๕. ปรารถนามาก มีความอยากใหญ่ ๖. ไม่สันโดษ ๗. แง่งอน ๘. ขี้โอ่
นิสัยของคนมีราคะจริต - เรียบร้อย นุ่มนวล ไม่รีบร้อน งานสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
รสชาติที่ชอบ - ชอบรสหวาน มัน อร่อย สีสรรน่ากิน สิ่งที่ชอบดู - ชอบของสวยงาม ไพเราะ ตลก ขบขัน ลึก ๆ แล้ว - เจ้าเล่ห์ โอ้อวด ถือตัว แง่งอน พิถีพิถัน ชอบยอ
.ลักษณะของผู้ที่หนักในโทสจริต
๑. โกรธง่าย โมโหง่าย
๑. หดหู่ ซึมเซา ๒. ผูกโกรธ แค้นฝังใจ ๓. ลบหลู่คุณท่าน (คนที่ดี คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า) ๔. ชอบตีตนเสมอท่าน ๕. ขี้อิจฉา ๖. ขี้เหนียว ชอบหึง ชอบหวง นิสิยของคนโทสะจริต -ไปพรวด ๆ รีบร้อนกระด้าง การทำงาน - งานสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย ไม่สำรวยมุ่งแต่ในสิ่งที่ปรารถนา รสชาติที่ชื่นชอบ - ชอบเปรี้ยว เค็ม ขม ฝาดจัด รับประทานเร็ว คำโต สิ่งที่ชอบดู - ชอบดูชกต่อย ด้านมืด - มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่บุญคุณ ตีเสมอ ขี้อิจฉา .ลักษณะของผู้ที่หนักในโมหจริต
๒. คลิบเคลิ้ม
๓. ฟุ้งซ่าน ๔. ขี้รำคาญ ๕. เคลือบแคลง ขี้สงสัย ในธรรมะ ๖. ถืองมงาย ๗. ละ ความเชื่อโง่ ๆ เดิม ๆ ได้ยาก นิสัย (กิริยา) ของคนโมหจริต - เซื่อง ๆ ซึม ๆ เหม่อๆ ลอย ๆ การทำงาน - งานหยาบ ไม่ถี่ถ้วน คั่งค้าง เอาดีไม่ได้ รสชาติอาหารที่ชื่นชอบ - ไม่เลือกอาหารอย่างไหนก็เอาหมด มูมมามด้วย สิ่งที่ชอบดู - ใครเห็นดีก็ว่าดีด้วย ใครเห็นไม่ดี ก็ไม่ดี ตามไปด้วย สนุกตามเขา เบื่อตามเขา ด้านมืด - มีแต่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เป็นเรื่องเป็นราว ช่างสงสัย เข้าใจอะไรยาก .ลักษณะของผู้ที่หนักในวิตกจริต
๑. พูดมาก พล่าม พูดไปเรื่อย ชอบเล่นมุข
๒. ชอบคลุกคลีในหมู่คณะ งานสังสรรค์ ๓. ไม่ยินดีในการประกอบกุสล ๔. มีกิจไม่มั่นคง จับจด ๕. กลางคืนเป็นควัน ๖. กลางวันเป็นเปลว (คือ คิดจะทำอะไรสักอย่างก็ฝัน แต่ไม่ได้ทำอะไร) ๗. คิดเรื่องต่าง ๆ พล่านไปต่าง ๆ นานา หาสาระไม่ได้ กิริยาอาการของคนวิตกจริต - เชื่องช้า เบลอ ๆ , เอ๋อ ๆคล้ายโมหจริต การทำงาน - งานไม่เป็นส่ำ จับจด แต่พูดเก่ง ดีแต่พูด อาหาร - ไม่แน่นอน อย่างไหนก็ได้ สิ่งที่ชื่นชอบและให้ความสนใจ - เห็นตามหมู่มาก ด้านมืด - ฟุ้งซ่าน โลเล เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเกลียด ชอบคลุกคลี อยู่คนเดียวไม่ได้ .ลักษณะของผู้ที่หนักในสัทธาจริต
๑. มตฺตจาคตา บริจาคทรัพย์เป็นนิจ ชอบให้ ชอบเผื่อแผ่ ช่วยเหลือคนอื่น ใครเห็นก็เลื่อมใส อยากเข้าใกล้
๒. อริยานํ ทสฺสนกามตา ใคร่เห็นพระอริยะ ชอบพบปะคนดี ๆ ด้วยกัน หรือดีกว่า ไม่ชอบคนเลว คนไร้สาระ คนตลก ๓. สทฺธมฺมํ โสตุกามตา ชอบฟังธรรม ๔. ปาโมชฺชพหุลตา มากด้วยความปราโมทย์ ปลื้มใจ ในสิ่งที่เป็นกุศล ๕. อสฐตา ไม่โอ้อวด ๖. อมายาวิตา ไม่มีมารยา ๗. ปสาทนีเยสุ ฐาเนสุ ปสาโท เลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส กิริยา -แช่มช้อย ละมุน ละม่อม การทำงาน - เรียบร้อย สวยงาม เป็นระเบียบ รสชาติที่ชอบใจ - หวาน มัน หอม สิ่งที่ชอบดู ชอบใจ - ชอบสวยงามอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน |
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต
|
คำว่าจริต ใช้เรียกบุคคลที่มีจริยาอย่างนั้นๆ เช่น คนมีโทสะจริยา เรียกว่า โทสะจริต จริต 6 ประเภท
คำว่า "จริต" ในที่นี้หมายถึงสภาวะจิตของคนตามธรรมชาติจากการแบ่งจริตมนุษย์เป็น ๖ ประเภทใหญ่ๆ
1.ราคะจริต คือสภาวะจิตที่หลงติดในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัสจนเป็นอารมณ์ 2.โทสะจริต หรือสภาวะจิตที่โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย เพียงพูดผิดสักคำ ได้เห็นดีกัน 3.โมหะจริต หรือจิตที่มักอยู่ในสภาพง่วงเหงาหาวนอนหรือซึมเศร้าเป็นอาจิณ 4.วิตกจริต หรือสภาวะจิตที่กังวล สับสนและวุ่นวายฟุ้งซ่านแทบทุกลมหายใจ 5.ศรัทธาจริต คือสภาวะจิตที่มีปรัชญาหรือหลักการของตัวเองและพยายามผลักดันให้ตัวเองและผู้อื่นบรรลุถึงจุดหมายนั้น 6.พุทธิจริต คือสภาวะจิตที่เน้นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง คิดหาเหตุหาผลมาแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน รวมทั้ง มีความสนใจ เรื่องการยกระดับและพัฒนาจิตวิญญาณ 1.ราคะจริต ลักษณะ บุคลิกดี มีมาด น้ำเสียงนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอมความไพเราะ ความอร่อย ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน จุดแข็ง มีความประณีตอ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกตุเก็บข้อมูลเก่ง มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ จุดอ่อน ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความเป็นผู้นำ ขี้เกรงใจคน ขาดหลักการ มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ชอบพูดคำหวานแต่อาจไม่จริง อารมณ์รุนแรงช่างอิจฉา ริษยา ชอบปรุงแต่ง วิธีแก้ไข พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง หาเป้าหมายที่แน่ชัดในชีวิต พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่างๆของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส 2.โทสะจริต ลักษณะ จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด พูดตรงไปตรงมา ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์ แต่งตัวประณีต สะอาดสะอ้าน เดินเร็ว ตรงแน่ว จุดแข็ง อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา วิเคราะห์เก่ง มองอะไรตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อผู้อื่นสามารถพึ่งพาได้ พูดคำไหนคำนั้น ไม่ค่อยโลภ จุดอ่อน จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม ไม่มีความเมตตา ไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของคนอื่น และไม่มีบารมี ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างวจีกรรมเป็นประจำ มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย วิธีแก้ไข สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ เจริญเมตตาให้มากๆ คิดก่อนพูดนานๆ และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง อย่าไปจริงจังกับโลกมากนัก เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ พิจารณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของร่างกาย 3.โมหะจริต ลักษณะ ง่วงๆ ซึมๆ เบื่อๆ เซ็งๆ ดวงตาดูเศร้าๆ ซึ้งๆ พูดจาเบาๆ นุ่มนวลอ่อนโยน ยิ้มง่าย อารมณ์ ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เดินแบบขาดจุดมุ้งหมาย ไร้ความมั่นคง จุดแข็ง ไม่ฟุ้งซ่าน เข้าใจอะไรได้ง่ายและชัดเจน มีความรู้สึก มักตัดสินใจอะไรได้ถูกต้อง ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายใคร จุดอ่อน ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง โทษตัวเองเสมอ หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเองไม่สนใจคนอื่น ไม่จัดระบบความคิด ทำให้เสมือนไม่มีความรู้ ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น สมาธิอ่อนและสั้นเบื่อง่าย อารมณ์อ่อนไหวง่ายใจน้อย วิธีแก้ไข ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือเล่นกีฬา แสวงหาความรู้ และต้องจัดระบบความรู้ความคิด สร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก 4.วิตกจริต ลักษณะ พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้งซ่านอยู่ในโลกความคิด ไม่ใช่โลกความจริง มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบกลั่นแกล้งเรา หน้าจะบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูงคิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง ผัดวันประกันพรุ่ง จุดแข็ง เป็นนักคิดระดับเยี่ยมยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่งหลายชั้น เป็นนักพูดที่เก่ง จูงใจคน เป็นผู้นำหลายวงการ ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด เห็นความผิดเล็กความผิดน้อยที่คนอื่นไม่เห็น จุดอ่อน มองจุดเล็กลืมภาพใหญ่ เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา จุดยืนกลับไปกลับมา ไม่รักษาสัญญา มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มี วิจารณญาณ ลังแล มักตัดสินใจผิดพลาด มักทะเลาวิวาท ทำร้ายจิตใจ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้ วิธีแก้ไข เลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากไป ฝึกสมาธิแบบอานาปานัสสติ เพื่อสงบสติ อารมณ์ เลิกอกุศลจิต คลายจากฟุ้งซ่าน สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร หัดมองโลกในแง่ดี พัฒนาสมองด้านขวา 5.ศรัทธาจริต
ลักษณะ ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการหรือความเชื่อถือและความศรัทธา คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐ กว่าคนอื่น เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ
จุดแข็ง มีพลังจิตสูงและเข้มแข็งพร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่น ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล มีลักษณะความเป็นผู้นำ จุดอ่อน หูเบา ความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล ถูกหลอกได้ง่าย ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ไม่ประนีประนอม มองโลกเป็นขาวและดำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนคิดว่าถูกต้อง สามารถทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรง วิธีแก้ไข นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาขับเคลื่อน เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ ลดความยึดมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์ ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู 6.พุทธิจริต ลักษณะ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล มองเรื่องต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงไม่ปรุงแต่ง พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง ใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกตุ มีความเมตตาไม่เอาเปรียบคน หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์ จุดแข็ง สามารถเห็นเหตุเห็นผลได้ชัดเจน และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง จิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่จมปลักในอดีต และไม่กังวลในสิ่งที่จะเกิดในอนาคต พัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เป็นกัลยาณมิตร จุดอ่อน มีความเฉื่อย ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบ อาจเอาตัวไม่รอด ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม วิธีแก้ไข้ ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพิ่มพลังสติสมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เพิ่มความเมตา พยายามทำให้ประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ธรรมะไทย และหนังสือ "จริต ๖ ศาสตร์ในการอ่านใจคน" โดย ดร. อนุสร จันทพันธ์ และ ดร. บุญชัย โกศลธนากุล
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)