นาฬิกาชีวิต

                              นาฬิกาชีวิต



ต่อมเล็กๆในสมองของมนุษย์คือ จุดควบคุมจังหวะสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะต่างๆ ทั้งกลางวันและ กลางคืน ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากต่อม เป็นศูนย์รวมบัญชาการเหล่านี้ คือเครื่องชี้นำที่เราท่านมีความสุขหรือเป็นทุกข์กังวล เป็นความจริงที่ควรรับทราบเพราะหากรู้ธรรมชาติตรงนี้ดีแล้ว จะได้แบ่งดูแลควบคุมพฤติกรรมในแต่ละวันของตนได้ เหมือนกับ มีนาฬิกาภายในร่างกายคอยชี้บอกให้ทราบว่าช่วงนี้ จังหวะร่างกายจะมีสภาพอย่างไร ศาสตร์ในเรื่องพฤติกรรมตรงนี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าโครโนไบโอโลยี ถ้าหากเรารู้จังหวะ รู้จักระมัดระวังชีวิต ก็จะอยู่ในวิสัยที่ควบคุมได้ไม่ยาก

06.00 น.
ต้องยอมรับว่า หกโมงเช้าเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายตื่นตัวที่สุด


07.00 น.
เหมาะสำหรับเป็นเวลาอาหารเช้า ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ดีที่สุด สารอาหารแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ จะถูก เปลี่ยนเป็น พลังงานได้อย่างสมบูรณ์


08.00 น.
เป็นช่วงเวลาที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวบ่อยที่สุด เพราะเลือดในร่างกายเข้มข้น เลือดมีโอกาสจับตัวอุดตันจนเกิด อันตรายได้มากกว่าช่วงเวลาอื่น


09.00 น.
สมองส่วนความจำจะทำงานได้ดีมากในช่วงนี้ เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องจำ สมองจะรับและบันทึกไว้ได้ดีที่สุด


10.00 น.
ถ้าเป็นไปได้ควรนัดเจรจาเรื่องสัญญากับวิเคราะห์ ด้วยเหตุผลและการพูดจาระหว่างการสนทนาจะออกมาเป็น จุดเด่นในช่วงนี้


11.00 น.
ร่างกายในช่วงที่สามารถให้ประสิทธิภาพได้สูงสุด หัวใจและระบบไหลเวียนของโลหิต ทำงานได้เต็มที่ ช่วงนี้ไม่ว่าจะ เป็นการวิ่งมาราธอนหรือต่อสู้กับสภาพของงาน มนุษย์จะทำได้ดีที่สุด


12.00 น.
จุดหักมาถึงแล้ว สมาธิเริ่มแย่ อุบัติเหตุในการทำงานจะเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่หยุดพักจะทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้


13.00 น.
กระเพาะอาหารเตรียมทำงานของมันด้วยการหลั่งกรดออกมา ต้องหาอะไรรับประทานให้ได้ ไม่งั้นโรคกระเพาะอาหาร จะตะโกนถามหา


14.00 น.
ถ้าหากด้องการประดิดประดอยอะไรเพื่อเซอไพรส์คนรักคนชอบละก็ให้รีบทำซะตอนนี้เพราะเป็นช่วงที่มือไม้ทำงานได้ ประณีตดีที่สุด


15.00 น.
พลังงานแห่งการทำงานกลับมาอีกครั้ง ความจำขึ้นถึงสูงสุดอีกครั้ง ช่วงนี้น่าจะหาโอกาสเข้าพบเจ้านายเพื่อ ขึ้นเงินเดือนได้ ในช่วงนี้จิตใจจะไม่กลัวการเผชิญหน้าใดใด


16.00 น.
มนุษย์จะทนต่อความเจ็บปวดได้ดีที่สุดในชั่วโมงนี้ ถ้าจะไปทำฟันก็เลือกประมาณนี้แหละ ถ้าทำได้ยาชาเข็มนึงจะมีผล พอๆ กับการได้รับ 3 เข็ม เลยทีเดียว


17.00 น.
แรงดันและการไหลเวียนของโลหิตจะเคลื่อนไหวได้ดีมาก เป็นเวลาที่เหมาะสมกับการเล่นกีฬาออกกำลังกายกล้ามเนื้อ อยู่ในช่วงที่แข็งแรงที่สุด และเมื่อได้ฝึกอย่างถูกวิธี ก็จะเกิดความแข็งแรงรวดเร็วมาก


18.00 น.
จงระวังขณะขับรถอยู่บนถนน ช่วงนี้ผู้คนจะเหนื่อยเพลียและขาดสมาธิมากกว่าช่วงเวลาชั่วโมงอื่นๆ เป็นช่วงที่เกิด อุบัติเหตุบ่อยครั้งที่สุด


19.00 น.
สมองได้รับเลือดหล่อเลี้ยงมากเพียงพอ เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันในช่วงนี้ จะสามารถแก้ไขให้ลุล่วงดีได้เร็วมาก


20.00 น.
คนเราเริ่มสดชื่นหลังการพักผ่อนที่ต้องกรำงานตลอดทั้งวัน แล้วเป็นช่วงดีสำหรับการพบปะหมู่มิตร ใครที่อยากจะ บอกรัก ขอใครแต่งงานควรจะทำใน ชั่วโมงนี้โอกาสประสบความสำเร็จมีมากที่สุด


21.00 น.
กระเพาะอาหารจะหยุดทำงานพอถึงช่วงเวลานี้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารหนัก เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไปครั่งค้าง ในกระเพาะเกิดผลเสียหายตามมา


22.00 น.
ถึงเวลาเข้านอนแล้ว ความดันโลหิตจะลดลงพร้อมๆ กับอุณหภูมิของร่างกายที่ต่ำลง การนอนหลับก่อนเที่ยงคืน เป็นการหลับที่สนิท และช่วยให้การพักผ่อนอย่างเต็มที่มากกว่าช่วงอื่น


23.00 น.
ร่างกายกำลังผ่อนคลาย สมองทำงานน้อยลง ถ้าดูหนังสือ ช่วงนี้วันต่อไปก็จะจำไม่ได้เป็นส่วนใหญ่


24.00 น.
ใครที่ยังไม่หลับควรให้โอกาสนี้สำหรับการสร้างสรรค์ จะป็นงานเขียน วาดรูป หรือแต่งเพลง ล้วนเป็นช่วงเวลาที่ วิเศษทั้งสิ้น เพราะสมองปลอดโปร่งคิดโน่นคิดนี่ได้ดีที่สุด


01.00 น.
ถึงตอนที่สมองเหนื่อยล้าที่สุดแล้ว ร่างกายอยากพักผ่อนเต็มที่ แม้จะชาชินกับงานกลางคืนมาเป็นปีแต่พอเข้า ชั่วโมงนี้จะรู้สึกว่าเหนื่อย เพลีย ง่วงที่สุด


02.00 น.
ฮอร์โมนเมลาโตนิน ถูกขับออกมามาก ทำให้คนเราเลื่อนลอยเหนื่อยล้าและมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายมากที่สุด


03.00 น.
ในร่างกายมนุษย์ทุกอย่างแทบจะหยุดนิ่ง ใครที่จุดบุหรี่สูบมีโอกาสหลับทั้งๆ ที่ยังคาบบุหรี่อยู่ในปากนั่นเลยช่วงนี้มีโอกาสไฟไหม้บ้านมาก


04.00 น.
ร่างกายเริ่มตื่นขึ้นมาทำงานอีก เพราะมีฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งใช้ต่อสู้กับความเครียดหลั่งออกมา คนเป็นโรคหืดหอบ จะมีปัญหากับการหายใจ


05.00 น.
ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แก่ทั้งหลายควรตระเตรียมข้าวของให้พร้อมสำหรับชั่วโมงนี้ เพราะตามสถิติเด็กทารกจะคลอด ออกมาลืมตาดูโลกระหว่างชั่วโมงนี้มากที่สุด


............................................................................................................................................................

                             ตารางเวลาร่างกาย




ช่วงเวลา                     ระบบที่เกี่ยวข้อง                 ข้อควรปฏิบัติ

01.00-03.00                      ตับ                                 นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท

03.00-05.00                      ปอด                              ตื่นนอน   สูดอาการบริสุทธิ์
05.00-07.00                ลำไส้ใหญ่                           ขับถ่ายอุจจาระ
07.00-09.00              กระเพาะอาหาร                      กินอาหารเช้า
09.00-11.00                    ม้าม                                 พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ
11.00-13.00                   หัวใจ                                 หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง
13.00-15.00              ลำไส้เล็ก                               งดอาหารทุกประเภท
15.00-17.00          กระเพาะปัสสาวะ                        ทำให้เหงื่อออก(ออกกำลังกายหรืออบตัว)
17.00-19.00                 ไต                                       ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
19.00-21.00              เยื่อหุ้มหัวใจ                           ทำสมาธิ หรือสวดมนต์
21.00-23.00          ระบบความร้อนของร่างกาย       ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น
23.00-01.00                ถุงน้ำดี                                  ดื่มน้ำก่อนเข้านอน

..................................................................................................................................................................






ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝังเข็ม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฝังเข็ม
         การฝังเข็ม คือการใช้เข็มปักลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างการ โดยใช้หลักการของแพทย์แผนจีนที่มีมากกว่า 4000 ปี การฝังเข็มเผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นเวลาหลายร้อยปี องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมเมื่อ พ.ศ. 2522 และ 2538 ให้การรับรองโรคที่ใช้ฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาจำนวน 57 โรค การฝังเข็มรักษาโรคให้หายได้ โดยผ่านจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลมปราณ ซึ่งเป็นเส้นทางไหลเวียนและลำเลียงของพลัง, เลือด และของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเชื่อมโยงอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่างๆทำให้การไหลเวียนและลำเลียงไม่ติดขัด อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานประสานกลมกลืนกัน แพทย์แผนปัจจุบันศึกษาเวชกรรมฝังเข็ม พบว่าการฝังเข็มมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ และมีผลต่อการหลั่งสารหลายชนิดในร่างการ ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและลดอาการอักเสบได้ดี การฝังเข็มรักษาโรคหายได้ รักษาโรคหายได้เพียงบางส่วน ควรใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอย่างอื่นๆ และที่สำคัญที่สุด คนไข้เองต้องปรับเปลี่ยนสภาพจิตใจและอารมณ์กับสภาพสุขนิสัยในการดำรงชีวิต ให้อยู่ในภาวะสมดุล จึงจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้หายจากโรคอย่างสมบูรณ์ ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซียงไฮ้ ได้จัดอบรมแพทย์ฝังเข็มตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนกว่า 500 คนทั่วประเทศ
         องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรคหรือบรรเทาอาการด้วยวิธีฝังเข็มไว้ดังนี้
1. การรักษาที่ได้ผลเด่นชัดเป็นพิเศษ
          อาการปวด โรคปวดคอเรื้อรัง, หัวไหล่, ข้อศอก, กระดูกสันหลัง, เอว, หัวเข่า โรครูมาต้อยตริ่ง, ปวดจากการเคล็ดขัดยอก, ปวดประจำเดือน, ปวดนิ่วในถุงน้ำดี, ปวดศรีษะที่มีสาเหตุจากความเครียดหรือก่อนการมีประจำเดือน, ปวดไตเนื่องจากสาเหตุต่างๆ, ปวดในทางเดินปัสสาวะ, ปวดเส้นประสาทหรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า, ปวดหลังผ่าตัด, ปวดไม้ดำเกรน, อาการซึมเศร้า อาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้าเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง, ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ, เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ, สมรรถภาพทางเพศถดถอย, ภูมิแพ้, หอบหืด, หวาดวิตกกังวล, นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง, แพ้ท้อง, คลื่นเหียงอาเจียน, การเลิกเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด
2. การรักษาที่ได้ผลดี
         อาการเจ็บเฉียบพลัน หรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอมซิล), อาการวิงเวียนศรีษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู, สายตาสั้นในเด็ก, เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) , โรคอ้วน, โรคประสาท, การปวดของเส้นประสาทสะโพก, เส้นเอ็นอักเสบ, ปวดลำไส้เนื่องจากพยาธิ, อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด
3. การรักษาที่ได้ผล
         ท้องผูก, ท้องเดิน, การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายชาย, และฝ่ายหญิง, กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ, สะอึก, เรอบ่อย,ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง, ไซนัลอักเสบ, หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ


เข็มที่ใช้ฝัง
             เข็มที่ใช้ฝัง เป็นเหล็กสแตนเลส ไม่เป็นสนิม มีขนาดเล็กและบางมาก ปลายเข็มไม่ตัด ไม่กลวงไม่มีรู ได้รับการทำความสะอาดจนปลอดเชื้อ และบรรจุแผงจากโรงงาน ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลยไม่นำกลับมาใช้อีก ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์
ความรู้สึกขณะฝังเข็ม
        เจ็บเล็กน้อย เมื่อเข็มผ่านผิวหนัง หายเจ็บ เมื่อถึงชั้นใต้ผิวหนัง ชา, ตื้อ, หนัก ร้าว เมื่อถึงจุดฝังเข็มไปตามทางเดินของเส้นลมปราณ
ข้อแนะนำในการฝังเข็ม
1. รับประทานอาหารตามปกติ และพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
2. ใส่เสื้อ กางเกง ที่หลวม พับเหนือข้อศอกและเข่าได้ ไม่สวมถุงน่องในสตรี
3. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายไม่เกร็ง การฝังเข็มในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
1. โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
2. โรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด
3. โรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน